วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

มาปลูก วาซาบิ กันเถอะ

 

วาซาบิ (ญี่ปุ่น: ワサビ wasabi) เป็นเครื่องปรุงที่ทำมาจากการบดลำต้นของพืช Canola (Japanese horseradish) จัดเป็นไม้ยืนต้นที่อยู่ในตระกูลเดียวกับพวกบรอกโคลีและกะหล่ำ เป็นสมุนไพรดั้งเดิมของญี่ปุ่น สามารถปลูกได้ทั้งบนดิน และพื้นน้ำ โดยปลูกบนพื้นน้ำจะให้คุณภาพที่ดีกว่า ในหลายประเทศมักจะเรียกวาซาบิกันผิดๆ ว่าฮอร์สแรดิชญี่ปุ่น ฮอร์สแรดิชสีเขียว หรือแม้แต่มัสตาร์ดญี่ปุ่น

ลักษณะ

ใบของวาซาบิจะคล้ายกับดอกของต้นโฮลีฮอค ต้นมีความสูงแค่เข่า ส่วนโคนลำต้นที่ใช้ในการทำอาหารมีลักษณะเป็นหัวเหมือนหัวไชเท้าหรือบอระเพ็ดแต่ เป็นสีเขียวอ่อนๆ เมื่อบดแล้วมีกลิ่นที่ฉุนรุนแรง ถ้ารับประทานจะให้ความรู้สึกแสบร้อนขึ้นจมูกในระยะสั้นๆ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นความกลมกล่อม จากรสหวานและขมผสมกัน และให้ความเผ็ดเล็กน้อย

วิธีทำ

นำส่วนโคนลำต้นที่มีความหนาออกมาใช้ และหลายๆ คนมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นส่วนรากของ มัน เวลาจะนำไปรับประทาน หรือประกอบอาหารนั้นจะต้องมีกรรมวิธีพิเศษคือนำวาซาบิไปฝนกับเครื่องฝนพิเศษ ที่ทำมาจากเหงือกปลาฉลาม (Wasabi Oroshi) ซึ่งจะมีปุ่มขนาดเล็กๆ จนทำให้ผลวาซาบิละเอียดจนมีลักษณะคล้ายครีมสีเขียว หลังจากนั้นก็นำไปผสมกับโชยุใช้เป็นน้ำจิ้มสำหรับปลาดิบ (ซะชิมิ, sashimi) หรือ ซูชิ (sushi) เพื่อให้ได้รสชาติอร่อยยิ่งขึ้น

ฝนวาซาบิด้วยแผ่นเหงือกปลาฉลาม

แหล่งเพาะปลูก

แหล่งที่ปลูกวาซาบิอยู่ที่ชิมิทสึ แปลว่า น้ำสะอาด การปลูกวาซาบินั้นไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องลงทุนค่อนข้างสูง พืชชนิดนี้มักจะปลูกในที่โล่ง แต่จะต้องมีการจำกัดปริมาณแสงแดดไม่ให้ส่องลงมาถูกต้นพืชโดยตรงในช่วงฤดู ร้อน(ถ้าโดนแล้วจะให้ผลไม่ดี)
เนื่องจากมีแหล่งปลูกที่จำกัดจึงทำให้วาซาบิมีราคาค่อนข้างสูง ที่ประเทศไทยนั้นตามร้านอาหารมีระดับ หรือตามโรงแรมบางแห่งเท่านั้นที่จะใช้โคนต้นวาซาบิสดบด เพราะต้องนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นด้วย ราคากิโลกรัมละหลายพันบาท ดังนั้นจึงมีวาซาบิเทียมซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีเขียวและปรุงแต่งกลิ่นและสี เพิ่มขึ้น เมื่อนำมาผสมและกวนกับน้ำเย็นแล้วทิ้งไว้สักครู่ก็จะมีหน้าตาเหมือนกับวาซา บิของแท้แต่กลิ่นรสจะฉุนจัดจ้านกว่าเรียกว่า "ผงวาซาบิ"
แม้ว่าผลิตผลจะเผ็ดเกินกว่าที่จะนำมารับประทานเดี่ยวๆ แต่ก็ได้รับการสั่งนำเข้าจำนวนมากจากบริษัทใหญ่ๆ ในญี่ปุ่น เพื่อที่จะนำมาผสมผสานกับเครื่องปรุงอื่นๆ เช่น หัวไชเท้าและเครื่องเทศ ที่เรียกกันว่า "เนริวาซาบิ" และตลาดของเครื่องปรุงเนริวาซาบิ มีมูลค่าถึง 16 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี ในขณะที่วาซาบิแบบดั้งเดิมมีมูลค่าในตลาด 36 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี

ประโยชน์

กลิ่นฉุนของวาซาบิจะช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารทะเลได้ทุกชนิด เพราะสารที่อยู่ในวาซาบิเมื่อฝนเป็นแป้งกระทบกับออกซิเจนในอากาศ จะเกิดปฏิกิริยาเป็นทั้งกลิ่นฉุนและให้รสรุนแรง สารนี้จะมีประโยชน์ในการกระตุ้นต่อมน้ำลายให้ขับน้ำลายออกมา ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการย่อย อีกทั้งในวาซาบิยังอุดมด้วยวิตามินซี

สรรพคุณทางยา


วาซาบิบดสดแบบบรรจุหลอด
วาซาบินอกจากจะช่วยดับกลิ่นคาวแล้วยังมีสรรพคุณทางยาดังนี้

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

มักจะเข้าใจกันว่าวาซาบิสามารถช่วยให้หายใจโล่งขึ้น หรือบรรเทาอาการหวัด เนื่องจากเวลารับประทานวาซาบิแล้วจะรู้สึกฉุนและเผ็ดร้อนขึ้นจมูก แต่มีผลการทดลองของนักวิจัยชาว สหรัฐอเมริกาค้นพบว่า วาซาบิแทนที่จะช่วยให้การหายใจดีขึ้น กลับอาจทำให้การหายใจที่ติดขัดอยู่แล้วนั้นแย่ลง ศูนย์การแพทย์ Kaiser Permanente Medical Center ในเมืองโอคแลนด์ มลรัฐแคลิฟอร์เนียได้ ทำการศึกษาผลของวาซาบิ กับอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 22 คน โดยมีการให้รับวาซาบิหลายๆ ครั้ง และมีการวัดการระบายในช่องจมูก เพื่อศึกษาผลต่อการหายใจในช่องจมูก หลังการศึกษาได้ผลสรุปว่าจริงๆ แล้ววาซาบิทำให้ทางเดินหายใจติดขัด ซึ่งผู้รับประทานมักจะรู้สึกและเข้าใจเองว่า วาซาบิทำให้ทางเดินหายใจโล่ง ขึ้น แต่แท้ที่จริงแล้ววาซาบิจะเป็นตัวที่ทำให้การไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงใน โพรงจมูกเพิ่มขึ้นซึ่งเลือดเหล่านี้จะทำให้ทางเดินหายใจถูกปิดกั้น หรืออุดตันลง ส่วนสาเหตุที่ทำให้รู้สึกเหมือนจมูกโล่งขึ้น เพราะการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนของเลือดที่ว่านี้ ทำให้เกิดความเย็นของลมหายใจที่ผ่านช่องโพรงจมูก หรืออาจเป็นเพราะการกระตุ้นที่โพรงจมูกในชั่วขณะหนึ่งเพื่อให้อากาศไหล ผ่านกลับมาได้สะดวกเป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกจมูกโล่งขึ้นได้


 คุณปรีชา โกวิทยา ผู้เชี่ยวชาญเรื่องวาซาบิ และเป็นผู้ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2542 เล่าว่า วาซาบิ เป็นพืชที่มีมูลค่าสูง เนื่องจากปลูกได้ในเฉพาะพื้นที่ที่เหมาะสมเท่านั้น วาซาบิเป็นพืชตระกูลกะหล่ำ เจริญเติบโตได้ในอุณหภูมิประมาณ 20 องศาเซียลเซียส อุณหภูมิในน้ำประมาณ 10 องศาเซลเซียส และความเข้มของแสงต่ำ ความชื้นสูง ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 1,000 เมตร ขึ้นไป ในเขตร้อนชอบขึ้นตามป่าไม้ใหญ่ไม่ผลัดใบ ตามธรรมชาติชอบขึ้นอยู่ตามริมน้ำลำธารบนภูเขา ในที่ชื้นแฉะ
วาซาบิ เป็นพืชข้ามปี มีรากสะสมอาหารและรากดูดกลืนอาหารอยู่ใต้ดิน รากสะสมอาหารมีลักษณะกลม ปลายรากแหลม ประกอบด้วยตาหน่อ ซึ่งจะเจริญและใช้ขยายพันธุ์ต่อไป แต่ละรากจะมีหน่อประมาณ 20 หน่อ ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และสภาพแวดล้อม ขณะที่ตาหน่อเจริญ ตาอื่นๆ จะพักตัวจนกว่าจะปลิดหน่อแรกออก หน่อที่เจริญเต็มที่ยาวประมาณ 5-30 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร มีจำนวนรากประมาณ 20-25 ราก ต่อต้น ความยาว 30-100 เซนติเมตร ซึ่งจะเจริญเป็นรากสะสมอาหารและรากดูดอาหารต่อไป ส่วนที่อยู่เหนือดินประกอบด้วยก้านใบยาว 30-50 เซนติเมตร ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือกลม โคนใบที่อยู่ติดกับก้านใบจะเว้าเข้าไปเป็นรูปหัวใจคล้ายใบบัวบก กว้างประมาณ 15-30 เซนติเมตร จำนวน 55-65 ใบ ต่อต้น การเจริญเติบโตของใบในฤดูหนาวและฤดูร้อนจะค่อนข้างช้า ประมาณ 2-3 ใบ ต่อเดือน ในสภาพที่เหมาะสม ใบจะเจริญเติบโต 5-6 ใบ ต่อเดือน ต้นวาซาบิที่มีอายุ 15 เดือน จะมีใบ 65 ใบ ใบจะเหลืองและร่วง 2-6 ใบ ต่อเดือน ช่อดอกเป็นช่อดอกแบบไม่จำกัด ยาวประมาณ 20-60 เซนติเมตร ดอกสีขาว กลีบดอกยาว 8-9 มิลลิเมตร เมล็ดจะมีการพักตัว 3 เดือน
ในประเทศ ญี่ปุ่น ดอกจะเจริญเติบโตประมาณเดือนมกราคมและจะเจริญเติบโตสูงสุดเดือนเมษายน เมล็ดพันธุ์สามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 50-60 วัน หลังจากดอกบานเต็มที่ เมล็ดอ่อนจะสีเหลือง เมล็ดแก่จะสีดำ การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์เมื่อประมาณปลายเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ในระยะที่เมล็ดเจริญเติบโต การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ที่ดีที่สุดประมาณกลางเดือนเมษายน เมล็ดพันธุ์ที่เก็บเกี่ยวแล้วต้องทิ้งไว้ให้พักตัวประมาณ 3 เดือน หรือขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในช่วงที่เก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ การขยายพันธุ์วาซาบิ สามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการแยกกอ ซึ่งจะต้องขยายพันธุ์ระยะแรกในห้องควบคุมอุณหภูมิ จากนั้นจึงย้ายลงปลูกในแปลงที่ปลูกในระบบปิด เพื่อให้ต้นวาซาบิได้รับอุณหภูมิต่ำระหว่าง 10-20 องศาเซียลเซียส
คุณ สุรางค์ ชาติชำนาญ นักวิชาการผู้รับผิดชอบการปลูกวาซาบิ เล่าว่า ในประเทศไทยได้ทดสอบวาซาบิอยู่หลายสายพันธุ์ เพื่อหาสายพันธุ์ที่เหมาะสม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดในห้องปรับอากาศ จากนั้นจึงนำไปปลูกในเรือนโรงที่มีระบบปรับอุณหภูมิ โดยใช้ระบบความเย็นและระบบน้ำไหลเวียนควบคู่กันไป ศึกษาวิจัยจนถึงการขยายผลในเชิงธุรกิจ ใช้เวลาหลายปี พบว่าปลูกในเมืองไทยนั้น อายุตั้งแต่การปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวนาน 18 เดือน ถึง 2 ปี วาซาบิจะเริ่มลงหัวเมื่ออายุประมาณ 1 ปี จึงนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ จากนั้นจะมีภาคเอกชนที่รับผิดชอบด้านการตลาด เป็นตัวแทนนำผลิตภัณฑ์วาซาบิประเภทต่างๆ ส่งไปจำหน่ายตลาดต่างประเทศทั่วโลก

 การรับประทานปลาดิบกับวาซาบิ ถือเป็นของคู่กัน แต่ใครจะเชื่อว่าเครื่องเคียงประจำประเทศญี่ปุ่นอย่าง “วาซาบิ” จะถูกส่งออกมาจากประเทศไทยล้วนๆ จากฝีมือคนไทย และวัตถุดิบที่เคยปลูกในไทยในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ แม้ขณะนี้ไม่ได้ใช้พื้นที่ในไทยปลูกแล้วก็ตาม แต่คนไทยยังถือเป็นผู้ส่งออกวาซาบิส่งขายทั่วโลกเช่นเดิม
แนวความคิดใน การผลิตวาซาบิเพื่อจำหน่ายนั้น นายปรีชา โกวิทยา กรรมการผู้จัดการบริษัท ลานนาโปรดักส์ จำกัด ได้ย้อนอดีตให้ฟังว่า เมื่อ 20 ปีที่แล้ว มีเพื่อนชาวญี่ปุ่นได้บอกว่าขณะนี้วาซาบิ เริ่มขาดตลาด และราคาก็พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากอาหารญี่ปุ่นในช่วงนั้นเริ่มกระจายไปทั่วโลก ส่งผลให้สิ่งที่ต้องรับประทานคู่กับอาหารญี่ปุ่นอย่างวาซาบิ เป็นที่ต้องการของทั่วโลก ดังนั้นเพื่อสนองความต้องการของตลาด เพื่อนชาวญี่ปุ่นจึงชักชวนให้ปลูกต้นวาซาบิในประเทศไทย ซึ่งนายปรีชา ก็ตกลงทันที ทั้งๆ ที่ไม่เคยเห็นต้นวาซาบิมาก่อน และไม่เคยมีความรู้เกี่ยวกับงานเกษตรใดๆ เลย




“เมื่อผม ตัดสินใจปลูกต้นวาซาบิ เพื่อนจึงให้หาพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกต้นวาซาบิ คือ พื้นที่ต้องเย็น มีน้ำ และมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,600 เมตรขึ้นไป โดยพื้นที่ที่เหมาะสมในขณะนั้นคือที่ จ.เชียงใหม่ ซึ่งผมก็ได้ตั้งโรงงานปลูกพืชผักเมืองหนาวควบคู่ไปด้วย แต่เมื่อปลูกต้นวาซาบิไปได้สักระยะหนี่ง ทำให้ผมมีประสบการณ์จากการหาความรู้ด้านนี้อย่างต่อเนื่อง ทำให้รู้ว่าแม้ประเทศไทยจะปลูกวาซาบิได้ แต่คุณภาพอาจเทียบไม่ได้กับวาซาบิต้นตำรับที่ปลูกในญี่ปุ่น เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ต้องดูแลเป็นพิเศษ ให้ปลอดภัยจากแมลง และควบคุมผลผลิตให้ได้ตามต้องการ ซึ่งสุดท้ายจากปัญหาที่ตามมา ทำให้ผมตัดสินใจหาพื้นที่ปลูกต้นวาซาบิ แห่งใหม่ โดยเริ่มที่ลาว ได้ 2 ปี แต่ก็ต้องล้มเหลว จึงย้ายมาที่อินโดนีเซีย เนื่องจากมีทำเลที่ค่อนข้างเหมาะสม เพราะมีอากาศเย็น ในขณะเดียวกันก็มีภูเขาที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 3,000 เมตร คือ ที่เมืองเซมารัง (Samarung)”



เมื่อนายปรีชา ต้องประสบกับปัญหาหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องพื้นที่เหมาะสมในการปลูกต้นวาซาบิ สุดท้ายก็มาลงตัวที่ประเทศอินโดนีเซีย ที่ปลูกแล้วได้ผลผลิตดีกว่าเมืองไทย ต่อมานายปรีชา ก็ค้นพบว่า ที่ตรงไหนสามารถปลูกชาได้ ก็ปลูกวาซาบิได้เช่นกัน ฉะนั้นทำเลอย่างประเทศจีนจึงเหมาะสมที่สุด เพราะจีนเป็นประเทศที่ผลิตชาเป็นอันดับต้นๆ ของโลก


วาซาบิผงในอีกแพคเกจ




“ที่ ประเทศจีนเราปลูกที่คุนหมิงก่อน และขยับไปที่ยูนาน ต้าลี่ และลี่เจียง ซึ่งขณะนี้พื้นที่รวมประมาณกว่า 1,000 ไร่ ซึ่งทางบริษัทฯ ไม่ได้ปลูกเอง แต่เป็นการรับซื้อจากเกษตรกรโดยตรง ซึ่งแตกต่างจากประเทศอินโดนีเซีย ที่เราต้องเช่าที่ปลูก แต่ที่จีนรับซื้ออย่างเดียว ไม่ต้องเสียค่าเช่าที่ ดังนั้นเมื่อผมเห็นศักยภาพที่มีความพร้อมในทุกๆ ด้านของจีน ทำให้ลดพื้นที่ปลูกลงเรื่อยๆ และคาดว่าภายในปีนี้ (2551) จะย้ายพื้นที่ปลูกมาที่ประเทศจีนทั้งหมด โดยต้องการลดต้นทุนการผลิตในทุกด้าน เช่น การขนส่ง ค่าแรงงาน และโรงงานผลิต ที่ปัจจุบันได้ย้ายมาที่จีนเกือบ 100% แล้ว”



วาซาบิซอส พร้อมรับประทาน




สำหรับ ในไทยถือว่าวาซาบิที่คนไทยรับประทานอยู่ในขณะนี้ มาจากบริษัทลานนาโปรดักส์ล้วนๆ รวมถึงวาซาบิที่นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ดังนั้นจึงไม่แปลกที่นายปรีชา จะได้รับรางวัล ‘Bualuang SME Awards’ จากธนาคารกรุงเทพ ด้วยความโดดเด่นทางด้านการทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าสูงอย่าง ต่อเนื่อง



ที่มา