วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ปุ๋ยหวาน



ปุ๋ยโพแทสเซียม ได้แก่ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารโพแทสเซียมเป็นสำคัญ 

ประโยชน์ ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของรากผลและทำให้พืชแข็งแรง ต้านทานโรค เพิ่มความหวาน 

แม่ปุ๋ยที่ใช้ 

- โพแทสเซียมคลอไรด์ หรือ 0-0-60 มีโพแทสเซียม (K2O) 60%   --> ราคาประมาณ 900/กระสอบ
 ใช้กับพืชที่ไม่มีผลกับสารคลอไรด์ เช่น มันสำปะหลัง


- โพแทสเซียมซัลเฟต หรือ 0-0-50 มีโพแทสเซียม (K2O) 50%  --> ราคาประมาณ 1200/กระสอบ
 ใช้กับพืชที่มีผลกับสารคลอไรด์ เช่น สับปะรด

- โพแทสเซียมไนเตรท หรือ 13-0-46 มีไนโตรเจน (N) 13% โพแทสเซียม (K2O) 46% 

สำหรับ 0-0-50 นั้น ราคาจะแพงกว่า 0-0-60 ใช้เป็นแม่ปุ๋ยสำหรับผสมปุ๋ยสูตรต่าง ๆ 


ส่วน 13-0-46 นั้น มีราคาแพง เป็นปุ๋ยเกร็ดอย่างดี ใช้ละลายน้ำพ่นทางใบ เช่น การทำมะม่วงให้ออกผลนอกฤดู ก็มีการพ่นปุ๋ยชนิดนี้เช่นกัน ในโครงการผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง จึงใช้ 0-0-60 


ลักษณะของปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์มีหลายชนิด 
- ชนิดเป็นผง มีสีขาวแบบเกลือแกง หรือสีส้ม 
- ชนิดเม็ดกลม มีสีขาว หรือสีส้ม 
- ชนิดเหลี่ยม มีลักษณะเหมือนหินคลุก หรือมีสีใสขาว 
สูตรปุ๋ยที่ใช้เร่งผล เพิ่มความหวาน คือ 13-13-21 และ 9-24-24 

ส่วนปุ๋ยชีวภาพสูตรช่วยเพิ่มความหวานในไม้ผล ช่วยเร่งปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้ผลไม้มีรสชาติดีขึ้น เหมาะสำหรับสวนไม้ผลที่มีอายุ 3 ปี ขึ้นไป 

วัสดุ-อุปกรณ์ : 
ขี้ค้างคาว จำนวน 3 กิโลกรัม 
เกลือทะเล จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ 
ฟางเก่าที่ผ่านการเพาะเห็ดฟางมาแล้วจนปื่อยเกลือบจะเป็นดิน จำนวน 2 กิโลกรัม 
ข้าวหมาก จำนวน 1 ห่อ 
น้ำตาลทรายแดง จำนวน 1 แก้ว(ขนาด 250 มล.) 
ปูนขาว/ปูนโดโลไมท์ จำนวน 1 แก้ว(ขนาด 250 มล.) 
ถังหมักแบบมีฝาปิดขนาด 10-15 ลิตร จำนวน 1 ถัง 

วิธีการทำ : 
นำฟางข้าวที่เตรียมไว้มาคลุกเคล้าให้เข้ากันกับ ขี้ค้างคาว ปูนขาว เกลือทะเล จากนั้นโรยหน้าด้วยน้ำตาลทรายแดงที่ผสมกับข้าวหมากแล้วเรียบร้อย ฟางข้าวที่เตรียมไว้มาคลุกเคล้าให้เข้ากันกับ ขี้ค้างคาว ปูนขาว เกลือทะเล จากนั้นโรยหน้าด้วยน้ำตาลทรายแดงที่ผสมกับข้าวหมากแล้วเรียบร้อย แล้วแบ่งใส่ถุงผูกปากให้สนิท ตั้งทิ้งไว้ในที่ร่ม 3 วัน จึงนำไปใช้ใส่โคนต้นไม้ผลที่มีอายุ ตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ต้นละ 1 กิโลกรัม ทุกๆ 1 เดือน จะช่วยทำให้ผลไม้มีรสชาติดี หวาน ยิ่งขึ้น 

*** สามารถปรับลดหรือเพิ่มได้ตามแต่สภาพแวดล้อมและวัตถุประสงค์ /ในแต่ละพื้นที่อาจใช้แล้วได้ผลดีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม การจัดการ และ การประยุกต์ใช้


ที่มา http://www.rakbankerd.com/agriculture/wb/show.php?Category=agriculture&No=13761