วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โรคภายหลังการเก็บเกี่ยวของผักผลไม้ และการจัดการ

โดย ... รศ.ดร. สมศิริ แสงโชติ
ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กทม 10900
โทร. 025790113 ต่อ 1294


ความสูญเสียของผักและผลไม้หลังการเก็บเกี่ยว เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ โดยเฉพาะในเขตร้อนเป็นปัญหาใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการตลาดของผลิตผลเหล่านี้ โดยที่มีจุลินทรีย์หลายชนิด ที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง Eckert (1977) และ Snowdon (1990) ได้รายงานไว้ โดยจุลินทรีย์เหล่านี้เมื่อเข้าทำลายผลิตผล ก่อให้เกิดความเสียหาย ในระหว่างขนส่ง เก็บรักษา วางตลาด และผู้บริโภค การที่จะลด ความเสียหาย เนื่องจากโรคเหล่านี้ จึงต้องมีการ ศึกษาในรายละเอียดเกี่ยวกับโรคและเชื้อจุลินทรีย์ ที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจรวมทั้งใช้การควบคุมอย่างถูกวิธี

ลักษณะการเข้าทำลายของเชื้อ

1. การเข้าทำลายก่อนเก็บเกี่ยว เชื้อจุลินทรีย์ในกลุ่ม นี้ที่เกี่ยวข้องกับผลิตผล มีความสามารถในการเข้าทำลายผลิตผลได้โดยตรง และเข้าทำลายส่วนอื่นๆ ของพืชด้วย ทำให้ส่วนที่เป็นโรคเหลา่นั้นเป็นแหล่งของเชื้อซึ่งจะแพร่โดย ลม ฝน หรือ แมลงไปยังส่วนผลิตผล และเกิดการเข้าทำลาย แต่อาการของโรคไม่ปรากฏในไร่ในสวน ในขณะที่ผลิตผลยังอยู่บนต้น เนื่องจากเชื้อเข้าทำลายแบบแฝงอยู่ อาการจะปรากฏให้เห็นภายหลัง ที่ผลิตผลเหล่านั้นได้ถูกเก็บเกี่ยวและบ่มให้สุกเชื้อในกลุ่มนี้ เช่น Colletotrichum, Lasiodiplodia, Dothiorella และ Phytophthora

2. การเข้าทำลายขณะหรือหลังการเก็บเกี่ยว โดยปกติ ส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อในกลุ่มที่ เข้าทำลายขณะหรือหลังการเก็บเกี่ยวนี้ เช่น สปอร์ หรือส่วนขยายพันธุ์อื่นๆ พบปนเปื้อนอยู่ที่ส่วนผิวของผลิตผล หรือในระหว่างการขนย้ายหรือการปฏิบัติอื่นๆ โดยส่วนของเชื้อเหล่านี้พบอยู่ใน บรรยากาศของโรงบรรจุหีบห่อ น้ำที่ใช้ในการล้าง หรือลดอุณหภูมิผลิตผล ภาชนะที่ใช้ในการขนย้ายผลิตผล เป็นต้น เชื้อจุลินทรีย์ในกลุ่มนี้มีความ สามารถในการทำให้เกิดโรคต่ำและไม่สามารถเข้าทำลายผลิตผลได้โดยตรง การเข้าทำลายต้องอาศัยแผลหรือช่องเปิดธรรมชาติ โดยที่เชื้อในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่มีอัตราการเจริญ และแพร่กระจายที่ รวดเร็วทำให้ผลิตผลที่ถูกเชื้อเข้าทำลายเกิดการ เน่าเสีย ภายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งเชื้อในกลุ่มนี้ เช่น Aspergillus, Rhizopus, Alternaria เป็นต้น

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าทำลายของเชื้อ
- ปัจจัยก่อนเก็บเกี่ยว เช่น สภาพภูมิอากาศ ธาตุอาหาร และการเขตกรรม
- ปัจจัยหลังการเก็บเกี่ยว ได้แก่

1. ผลิตผล การปราศจากเข้าทำลายของเชื้อเป็นคุณภาพของผลิตผลที่เป็นที่ต้องการของตลาด เพราะผลที่เป็นโรคก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อ การเข้าทำลายของเชื้อในผลิตผลต่างๆมีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุ์ของผลิตผลนั้น เช่น ทุเรียนหมอนทอง มีความอ่อนแอต่อเชื้อรา Phytophthora palmivora เมื่อต้องการส่งผลทุเรียนหมอนทองไปขายต่างประเทศ จึงต้องมีการควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อราดังกล่าวให้ดีที่สุด (Pongpisutta and Sangchote, 1994) หรือการปฏิบัติในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของผลมะม่วง ซึ่งต้องการการควบคุมโรคในแปลงปลูกอย่างดีตั้งแต่ในแปลงปลูกเพื่อให้แน่ใจ ว่ามีเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides เข้าทำลายแฝงมากับผลน้อยที่สุด

2. อุณหภูมิ อุณหภูมิมีผลทั้งต่อเชื้อและผลิตผลโดยทั่วไป อุณหภูมิที่ดีที่สุดสำหรับการเก็บรักษา คือ อุณหภูมิต่ำสุดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับผลผลิตผักและผลไม้ใ้นเขตร้อน ไม่ควรเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 13-14ºซ เพราะก่อให้เกิดความเสียหาย จากความเย็นหรือ chilling injury ได้ง่าย เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคกับผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวเจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 24-26ºซ และอุณหภูมิต่ำสุดที่เชื้อ จะเจริญได้อาจต่ำถึง -4ºซ หรือเชื้อบางชนิดก็ได้เพียง 10 ºซ (Sommer,1985) ยิ่งไปกว่านั้นความแตกต่างของอุณหภูมิ มีผลในการเก็บรักษาผลิตผลระยะยาวเช่น ผลท้อที่ปลูกเชื้อด้วยเชื้อรา Botrytis cinerea แผลที่เจริญที่ 2.5ºซ มีขนาดเพิ่มขึ้นมากกว่า 30 % ของแผลที่ -0.5ºซ (Sommer, 1985)

3. ความชื้นสัมพัทธ์ ความชื้นสัมพัทธ์ใ์นสภาพแวดล้อมช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำในขณะเดียวกันก็มี ผลต่อเชื้อเช่นกัน แครอทที่สูญเสียน้ำมากกว่า 8 % อ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อรา Rhizopus stolonifer และ Botrytis cinerea (Goodliffe and Heale, 1977) หอมหัวใหญ่ต้องเก็บที่ความชื้นต่ำกว่า 70 % เพื่อ ลดการเน่าเสียที่เกิดจากเชื้อรา Botrytis allii หลังจากทำให้แห้งแล้วหลังจากนั้นนำไปเก็บไว้ที่ 0-2°ซ (Sommer, 1985)

4. การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและการบรรจุหีบห่อผลิตผล ที่คุณภาพดีควรเป็นผลิตผลที่เก็บเกี่ยวในระยะที่มีความสุกแก่พอดีผลิตผล เหล่านี้ควรบรรจุในภาชนะที่เหมาะสมไม่ถูกแสงอาทิตย์ ฝน ลม หรือสภาพอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดการเสียหาย และปนเปื้อนของจุลินทรีย์ ผลพริกมีอัตราการหายใจสูง เมื่อบรรจุในเข่งไม้ไผ่จะมีท่อ เป็นช่อง ระบายความร้อนตรงกลาง การปฏิบัตินี้ช่วยยืดอายุของผลผลิตและขณะเดียวกันก็ลดการเกิดของโรคแอ นแทรคโนสของพริก

การให้น้ำกับช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวมีผลกับการเกิดโรคเช่นเดียวกับในกรณีของหอมหัวใหญ่ โรคของหอมหัวใหญ่ก็มีอาการ neck rot (Botrytis spp.) black rot (Aspergillus spp.) basal rot (Fusarium sp.) และโรคเน่าที่เกิดจากแบคทีเรียในขณะเก็บรักษาเพิ่มขึ้น และการเข้าทำลายของเชื้อในขณะเก็บรักษาจะสูงสุดเมื่อเก็บเกี่ยวหอมเมื่ออายุ 110 วัน (ยอดเหี่ยว 25 %) แต่ถ้าเก็บเมื่ออายุ 120 วันหลังจากย้ายปลูก (ยอดเหี่ยว 50 %) ทำให้การเน่าเสียลดลงอย่างมาก นอกจากนี้ จากการศึกษาการสมานแผล (curing) ในแปลงปลูกในสภาพที่มีความชื้นต่าง ๆ กันของหอมหัวใหญ่ระหว่างการขนส่งแบบจำลอง พบว่า การ curing ในสภาพที่แห้งในแปลงปลูกเมื่อเก็บเข้าห้องเย็นเพื่อการขนส่ง การเน่าเสียมีระดับต่ำกว่าการ curing ที่อุณหภูมิห้องและสภาพที่ชื้น

แนวทางในการควบคุมโรคภายหลังการเก็บเกี่ยว

การป้องกัน

Gray mold rot
การลดแหล่งของเชื้อทั้งในไร่และหลังการเก็บเกี่ยวเป็นวิธีการในการป้องกัน ผลิตผลจากเชื้อต่าง ๆ เนื่องจากเชื้อหลายชนิดเข้าทำลายผลิตผล เริ่มต้นตั้งแต่ในแปลงเช่น โรคแอนแทรคโนสของพืชต่างๆ โรค gray mold rot ของสตรอเบอรี่ที่เกิดจากเชื้อรา Botrytis cinerea หรือโรคผลเน่าที่เกิด จากเชื้อรา Phytophthora palmivora ของผลทุเรียนการกำจัดแหล่งของเชื้อโดยการตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคและฉีดพ่นใน แปลงเพื่อลดการเกิดของเชื้อที่จะ เข้าทำลายผลิตผล การฉีดพ่นผลทุเรียนด้วย fosetyl-Al ช่วยลดการเข้า ทำลายของเชื้อ P. palmivora ที่จะเกิดขึ้นกับผลทุเรียนหลังการเก็บเกี่ยว

การกำจัดหรือลดการเกิดโรค

การควบคุมโรค
1. การใช้น้ำร้อนและไอน้ำร้อนการใช้ความร้อนเป็นวิธีการหนึ่งที่นำมาทดแทนสาร เคมี เนื่องจากสารเคมีมีพิษต่อมนุษย์ การใช้ความร้อนนอกจากมีผลยับยั้งการเจริญของเชื้อยังกระตุ้นความต้านทานด้วย การจุ่มผลมะม่วงในน้ำร้อนที่ 55°ซ เป็นเวลา 5 นาที (Sangchote, 1989) สามารถควบคุมโรคแอนแทรคโนสของมะม่วงได้ดี เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides และเชื้อรา Phytophthora palmivora ของผลมะละกอ สามารถควบคุมได้ดีโดยใช้น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 45-55°ซ เป็นเวลา 10-20 นาที (Couey et al., 1984) อย่างไรก็ดีการใช้น้ำร้อนไม่มีสารตกค้างที่ให้ผล
ในการป้องกันการเข้าทำลายที่จะเกิดขึ้นใหม่และอาจก่อให้เกิดเสียหายจากความ ร้อนได้ โดยทำให้การเปลี่ยนสีของผลผิดปกติ ลดอายุการเก็บรักษา และอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของจุลินทรีย์อื่น (Edney and Burchill, 1967).

2. การใช้อุณหภูมิต่ำ การใช้อุณหภูมิต่ำเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและใช้มากที่สุดในการยืดอายุ การเก็บรักษาและลดการเน่าเสีย อุณหภูมิต่ำทำให้การสุกของผลิตผลช้าลง ทำให้ความต้านทานของผลิตผลคงอยู่ นอกจากนี้การเจริญและการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ จะหยุดหรือช้าลงที่อุณหภูมิต่ำใกล้ 0°ซ เช่น เชื้อรา Lasiodiplodia theobromae และ Ceratocystis fimbriata โดยที่ผลไม้ในเขตร้อน ไม่สามารถเก็บได้ที่อุณหภูมิต่ำมากเนื่องจากเกิด chilling injury จึงต้องหาจุดที่เหมาะสมในการเก็บรักษาที่ไม่มีผลเสียต่อผลิตผล

3. การใช้รังสี การใช้การฉายรังสีเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถควบคุมการเน่าเสียได้ แต่การใช้รังสีแกมม่าในการฉายรังสีให้ผลิตผลในอัตราที่สูงก็ก่อให้เกิด ความเสียหายกับเนื้อเยื่อได้ สตรอเบอรี่เป็นผลไม้ที่มีความทนต่อรังสีได้ดี ทำให้สามารถกำจัดการเข้าทำลายที่จะก่อให้เกิดการเน่าเสียได้ (Heather, 1986) ฉะนั้นการใช้รังสีจึงขึ้นอยู่กับชนิดของผลิตผลและความไวของเชื้อต่อรังสีรวม ทั้งค่าใช้จ่ายต้องไม่สูงกว่าวิธีการอื่นที่มีอยู่ด้วย (Kader, 1982)

4. การใช้การดัดแปลงบรรยากาศ การเก็บรักษาผลิตผลโดยวิธีการนี้ ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้ดีโดยทั่วๆไป การเก็บโดยวิธีการรักษานี้จะพยายามทำให้ระดับของออกซิเจนต่ำกว่าระดับปกติ (21%) และคาร์บอนไดออกไซด์ สูงกว่าระดับปกติ (0.03%) ของบรรยากาศ การใช้การดัดแปลงบรรยากาศ ทำให้ความต้านทานของผลิตผลคงอยู่นานขึ้นและลดการเจริญของเชื้อ (El-Goorani and Sommer, 1981) Geeson และ Browne (1980) พบว่าการเก็บกระหล่ำปลีในสภาพที่มีคาร์บอนใดออกไซด์ 5-6 % และออกซิเจน 3 % ช่วยลดการเกิดและความรุนแรงของ Botrytis cinerea เมื่อใช้ร่วมกับสารเคมี

5. การใช้สารเคมี สารเคมีประมาณ 20 ชนิดได้มีการใช้ในระยะ 30 กว่าปีที่ผ่านมากับผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งสารเหล่านี้จะใช้ได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับความไวของเชื้อต่อสารเคมี ความสามารถในการซึมลงไปในผิวของสารเคมีลงไปกำจัดเชื้อ นอกจากนี้สาร เหล่านี้ต้องไม่ทำให้เกิดความเสียหายกับผลิตผลและมีพิษตกค้างไม่เกินกำหนด ระหว่างประเทศ (Eckert and Ogawa, 1985) สารเคมี fosetyl-Al ที่อัตราความเข้มข้น 2000 ppm สามารถควบคุมโรคเน่าของผลทุเรียนที่เกิดจากเชื้อรา P. palmivora ได้โดยการจุ่มผลเพียง 2 นาที (Pongpisutta and Sangchote, 1994)

6. การใช้วิธีการทางชีววิธี วิธีการนี้ได้ถูกนำมาใช้เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีที่มีอันตรายต่อผู้บริโภค โดยการใชจุ้ลินทรีย์อื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติเป็นปฏิปักษ์กับเชื้อสาเหตุ ซึ่งในการใช้กับผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว นิยมใช้จุลินทรีย์ที่เจริญเร็วทำให้เกิดการแย่งอาหารจากเชื้อสาเหตุ ทำให้เชื้อสาเหตุไม่เจริญหรือเจริญได้น้อย แต่การใช้ในประเทศไทยกับผลิตผลยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น เชื้อยีสต์ Candida tropicalis สามารถช่วย
ลดการเกิดอาการผลเน่าของมะม่วงเนื่องจากเชื้อรา Lasiodiplodia theobromae ได้ดี (Sangchote,1995)

การลดการแพร่กระจายของเชื้อจากผลิตผลที่เป็นโรค

โดยที่ผลิตผลเมื่อบรรจุหีบห่อเรียบร้อยเมื่อถึงปลายทางอาจจะมีผลิตผลบางส่วน ที่แสดงอาการของโรคและมีเชื้อที่เจริญอยู่ ซึ่งสามารถแพร่กระจาย ไปยังผลอื่น ๆ ได้ ทำให้เกิดการเน่าเสียทั้งภาชนะบรรจุ การลดความเสียหาย ณ จุดนี้สามารถทำได้โดยการบรรจุเป็นภาชนะเล็กๆ (consumer package) แล้วบรรจุลงในภาชนะบรรจุใหญ่ เมื่อเกิดการเน่าเสียก็เน่าเสียเพียงส่วนเดียว หรือการห่อแยกผลด้วยกระดาษที่เคลือบสารเคมีก็ช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อ ได้ เช่น การห่อผลส้มด้วยกระดาษที่เคลือบด้วยสาร biphenyl เมื่อมีผลที่เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา Penicillium spp. ไอของสารนี้ที่เคลือบอยู่กับกระดาษ ช่วยยับยั้งการสร้างสปอร์ของเชื้อทำให้ไม่เกิดการแพร่ในภาชนะบรรจุ จึงเกิดการเน่าเสียเฉพาะผลที่เป็นโรคเท่านั้น

ที่มา http://www.phtnet.org/article/view-article.asp?aID=43