วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พัฒนาสารเคลือบเมล็ดพันธุ์

พัฒนาสารเคลือบเมล็ดพันธุ์ อัตราการงอกดี..เก็บไว้ได้นาน ปัจจุบันวงการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช เริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสภาพภูมิอากาศในบ้านเราเหมาะแก่การผลิต เกษตรกรหลายรายต่างหันมาเก็บเมล็ดพันธุ์ขยาย เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งมุ่งที่จะส่งออกด้วยเช่นกัน

พัฒนาสารเคลือบเมล็ดพันธุ์

ฉะนี้แล้วเพื่อการยกระดับสินค้าเมล็ดพันธุ์ให้มีความ ทัดเทียมเทียบกับบริษัทต่างประเทศ รศ.ดร.บุญมี ศิริ และ น.ส.ธิดารัตน์ แก้วคำ นักศึกษา คปก.สังกัดภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้ร่วมกันพัฒนา สูตรสารเคลือบและวิธีการเคลือบที่ใช้กับพืชตระกูลแตง เพื่อใช้ในธุรกิจเมล็ดพันธุ์ รวมทั้งศึกษาคุณภาพของเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลแตงหลังจากการเคลือบเมล็ด และอายุการเก็บรักษาในภาชนะบรรจุและสภาพแวดล้อมขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

รศ.ดร.บุญ มี เปิดเผยว่า ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมาไทยเราส่งเมล็ดพันธุ์ที่มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุด คือ เมล็ดพันธุ์พืชไร่ รองลงมาเป็นเมล็ดพันธุ์ผักมาก เป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และเป็นอันดับที่ 12 ของโลก คิดเป็นมูลค่าโดยรวมเฉลี่ยที่ 7,000 ล้านบาท/ปี เพื่อยกระดับสินค้าให้มีความทัดเทียมเทียบกับบริษัทต่างประเทศ จึงนำวิทยาการใหม่ๆ อย่างการเคลือบเมล็ดพันธุ์ (seed coating) ที่พัฒนามาจากการเคลือบยา โดยใช้พอลิเมอร์ที่มีความเหนียวและมีส่วนผสมของสารออกฤทธิ์ชนิดต่างๆ ประกอบด้วยธาตุอาหาร สารป้องกันกำจัดแมลงและเชื้อโรค จากนั้นจึงเคลือบชั้นนอกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้การเคลือบเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งวิธีดังกล่าวช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีในช่วงระยะต้นกล้า เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรคและแมลงให้กับเมล็ดพันธุ์ที่ปลูกได้

พัฒนาสารเคลือบเมล็ดพันธุ์

น.ส.ธิดารัตน์ กล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนาสูตรสารเคลือบและวิธีการเคลือบที่ใช้กับพืชตระกูลแตงว่า เริ่มแรกนั้นศึกษาตัวพอลิเมอร์ที่มีความเหมาะสมที่สุดในการเคลือบ พร้อมทั้งทำการตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์แตงกวา และเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ ศึกษาถึงคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการเคลือบหลังจากการเก็บรักษา แล้วเตรียมสารเคลือบเมล็ดพันธุ์ประกอบด้วย โพลีเอทิลีน ไกลคอล 600 (Polyethylene glycol 600) สารก่อฟิล์ม ทัลคัม (Talcum) ไททาเนียมไดออกไซด์ (TiO2) และ สี

แล้วนำมาประเมินผลในลักษณะต่างๆ เช่น ค่า pH ความหนืดของสารเคลือบ เป็นต้น ก่อนนำไปเคลือบเมล็ดพันธุ์แตงลูกผสมด้วยเครื่องเคลือบ SKK08 จากนั้นนำเมล็ดเคลือบสารไปลดความชื้นด้วยเครื่องลดความชื้นแบบลมแห้ง แล้วจึงนำไปตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ ความงอกของเมล็ดพันธุ์ที่เพาะในห้องปฏิบัติการ ความงอกของเมล็ดพันธุ์ที่เพาะในสภาพโรงเรือนดัชนีการงอกความชื้นของเมล็ด พันธุ์หลังจากการเคลือบ

นอกจากนี้ยังต้องมีการทดลองเคลือบกับสารป้องกันโรคและศึกษาประสิทธิภาพ ของการป้องกันโรคของเมล็ดพันธุ์ที่เคลือบสารทั้งในสภาพห้องปฏิบัติการและใน โรงเรือน พบว่าเมล็ดพันธุ์ที่เคลือบด้วยพอลิเมอร์ชนิดละลายน้ำมีเปอร์เซ็นต์ความงอก ที่เพาะในสภาพห้องปฏิบัติการและในสภาพโรงเรือนไม่มีความแตกต่างกันกับเมล็ด พันธุ์ที่ไม่เคลือบสาร ส่วนอายุการเก็บรักษาอยู่ได้ประมาณ 6 เดือน ความงอก 80-90 เปอร์เซ็นต์

งานวิจัยดังกล่าวนอกจากเป็นการสร้างเอกลักษณ์ของพันธุ์พืช ยังทำให้เกษตรกรทั้งในและต่างประเทศต่างให้ความสนใจ

ที่มา

ไทยรัฐ

http://www.kasetorganic.com