วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

การปลูกปาล์มน้ำมัน

user image
การวางแนว การระบายน้ำความลาดเทของพื้นที่ ทิศทางของแสงแดดเพื่อให้ปาล์มน้ำมัน ได้รับแสงแดมากที่สุดเพื่อให้ใบได้มีกระบวนการสังเคราะห์แสง ควรปลูกปาล์มน้ำมันแบบสามเหลี่ยม ด้านเท่าแถวหลักเป็นฐานอยู่ในแนวทิศเหนือ ใต้ แถวที่ใกล้กันจะปลูกกึ่งกลางเป็นระยะยอดของสามเหลี่ยมด้านเท่า และการจัดระยะการปลูก ๙x๙ เมตรเป็นที่นิยมมากที่สุดเนื่อง จากทำให้ต้นได้รับแสงมากที่สุด
หลุมปลูกเมื่อวางแนวปลูกและปักไม้เป็นเครื่องหมายแล้วขุดหลุมขนาดกว้าง ๔๕ ซม. ยาว ๔๕ ซม. ลึก ๓๕ ซม. เป็นรูปตัวยูโดยให้จุดที่ปักไม้เป็นจุดกลางหลุมใช้เสียมแซะดินให้หลุมตั้งตรงขุดดินชั้นบนและชั้นล่างแยกกัน ตากไว้ประมาณ ๑๐ วันก่อนนำต้นกล้ามาปลูก
ฤดูปลูกฤดูที่เหมาะสมในการปลูกปาล์มน้ำมัน คือ ต้นฤดูฝนประมาณ เดือนพฤษภาคม มิถุนายน ควรปลูกเมื่อฝนเริ่มตกแล้วเพราะดินจะมีความชื้นเพื่อให้ต้นกล้าได้มีเวลาตั้งตัวในแปลงได้นาน
การปลูกการปลูกอย่างถูกวิธีจะทำให้การเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมันดีและให้ผลผลิตสูงอายุต้นกล้าที่เหมาะสมประมาณ ๑๐ - ๑๒ เดือน ต้นกล้าที่มีอายุน้อยเกินไปจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและอ่อนแอต่อสภาพแวดล้อมต่างๆสำหรับต้นกล้าที่มีอายุมากเกินไปผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและตกผลช้าและไม่สะดวกในการขนย้ายบางครั้งไม่สามารถใช้ต้นกล้าที่มีอายุเท่าที่กำหนดได้เราสามารถแก้ไขได้โดยตัดใบบางส่วนทิ้งบ้างและระวังอย่าให้รากบอกบซ้ำจากการขนย้ายมากนัก
การขนย้ายต้นกล้าควรขนย้ายต้นกล้าปาล์มน้ำมันด้วยความประณีต ไม่ให้กระทบกระเทือนมากเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต
การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน การปลูกก่อนปลูกปาล์มน้ำมันควรใส่ปุ๋ยร็อกฟอสเฟตรองก้นหลุมเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน ในอัตรา ๒๕๐ กรัมต่อหลุมคลุกเหคล้าดินกับปุ๋ยให้กระจายถือต้นกล้าด้วยมือทั้งสองข้างอย่างระมัดระวังแล้ววางลงหลุมให้ตรงจุดที่ต้องการใส่ดินชั้นบนที่ตากไว้ไปก่อนแล้วตามด้วยดินชั้นล่าง อัดดินให้แน่นใช้ไม้ปักผูกไว้ป้องกันการล้ม หรือเมื่อลมพัดแรง
การใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันในระยะต่างๆจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่างเช่นปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินเดิมสภาพภูมิอากาศความต้องการธาตุอาหารของปาล์มน้ำมันในระยะต่างๆ ชนิดของปุ๋ย อัตราการใส่และราคาปุ๋ย สำหรับการขาดธาตุอาหารที่สังเกตได้ด้วยตาเปล่าก็เป็นข้อพิจารณาอย่างหนึ่งสำหรับการใส่ปุ๋ย
วิธีการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน ในแต่ละพื้นที่นั้นแตกต่างกันแต่มีหลักสำคัญคือ
๑.ใส่ในช่วงที่ปาล์มน้ำมันต้องการ
๒.ใส่บริเวณที่รากปาล์มน้ำมันดูดไปใช้ได้มากที่สุด
ระยะเวลา ควรใส่ปุ๋ยเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอหลีกเหลี่ยงการใส่เมื่อแล้งจัดหรือฝนตกหนัก ในปีแรกหลังจากปลูกควรใส่ปุ๋ย ๔ - ๕ครั้ง ตั้งแต่ปีที่ ๒ เป็นต้นไป ควรใส่ปุ๋ย ๓ ครั้ง/ปีช่วงที่เหมาะสมในการใส่ปุ๋ยคือ ต้นฝน กลางฝน และปลายฝนตั้งแต่ปี่ ๕ ขึ้นไปพิจารณาใส่ปุ๋ยเพียงปีละ ๒ ครั้ง ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม
การแบ่งใส่ปุ๋ย (อัตราที่แนะนำ) เมื่อแบ่งใส่ ๓ ครั้ง / ปีแนะนำให้ใช้สัดส่วน ๕๐:๒๕:๒๕% สำหรับการใส่ปุ๋ย ต้นฝน กลางฝน และปลายฝนและเมื่อแบ่งใส่ ๒ ครั้ง / ปี ใช้สัดส่วน ๖๐:๔๐% ระยะต้นฝนและก่อนปลายฝนตามลำดับ
ช่วงต้นฝน คือ ประมาณเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน
ช่วงกลางฝน คือ ประมาณเดือนกรกฎาคม กันยายน
ช่วงปลายฝน คือ ประมาณเดือนตุลาคม พฤศจิกายน
วิธีการใส่ปุ๋ยควรใส่ครั้งแรกเริ่มปลูกปาล์มน้ำมันโดยใส่ร็อกฟอสเฟตอัตรา ๒๕๐ กรัม / ต้น
รองก้นหลุมต่อจากนั้นจะใช้ปุ๋ย ดังนี้

ปาล์มน้ำมันปลูกใหม่
100 - 200 กรัม/ต้น ใส่รองก้นหลุม

ปาล์มน้ำมันเล็ก

200 กรัม - 1 กก./ต้น ใส่รอบทรงพุ่ม 3 - 4 ครั้ง/ปี

ปาล์มน้ำมันใหญ่

3 - 5 กก./ต้น/ครั้ง ใส่รอบทรงพุ่ม 3 - 4 ครั้ง/ปี
การเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมัน
การเก็บเกี่ยวผลปาล์มสดรวมถึงการรวมผลปาล์มส่งโรงงานมีขั้นตอนโดยทั่วไปดังนี้
๑.ก่อนอื่นจะต้องแต่งช่อทางลำเลียงแถวปาล์มในแต่ละแปลงให้เรียบร้อยสะดวกกับการลำเลียงและการตรวจสอบทะลายปาล์มที่ตัดแล้ว เพื่อรวบรวมต่อไป
๒.คัดเลือกทะลายปาล์มสุกโดยยึดมาตรฐานจากการดูสีของผลซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีส้มและจำนวนผลสุกที่ร่วงหล่นลงบนดินประมาณ ๑๐ ๑๒ ผลผลให้ถือเป็นผลปาล์มสุกที่ใช้ได้
๓.หากปรากฏว่าทะลายปาล์มสุกที่จะตัดมีขนาดใหญ่ที่ติดแน่นนกับลำต้นมากไม่สะดวกกับการใช้เสียมแทงเพราะจะทำ ให้ผลร่วงมากก็ใช้มีดขอหรือมีดด้ามยาวธรรมดา ตัดแชะขั้วทะลายกันเสียก่อนแล้วจึงใช้เสียมแทงทะลายกันเสียก่อนแล้วจึงใช้เสียมแทงทะลายปาล์มก็จะหลุดออกคอต้นปาล์มได้ง่ายขึ้น
๔.ให้ตัดแต่งขั้วทะลายปาล์มที่ตัดออกมาแล้วให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อสะดวกในการขนส่งหรือเมื่อถึงโรงงาน ทางโรงงานก็จะบรรลุลงในถังต้นลูกปาล์มได้สะดวก
๕.รวบรวมผลปาล์มทั้งที่เป็นทะลายย่อยและลูกร่วงไว้เป็นกองในที่ว่างโคนต้นเก็บผลปาล์มร่วงใส่ตะกร้าหรือเข่ง กรณีต้นปาล์มมีอายุน้อยทางใบปาล์มอาจรบกวนทำให้เก็บยาก
๖.สำหรับกองทางใบที่ตัดแล้วอย่าให้กีดขวางทางเดินหรือปิดกั้นทางระบายน้ำจะทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ระบายน้ำที่ขังตามทางเดิน
๗.รวบรวมผลปาล์มทั้งทะลายสดและผลปาล์มร่วงไปยังศูนย์รวมผลปาล์มในกองย่อยเช่น ในการกระบะบรรทุกที่ลากด้วยแทรกเตอร์หรือรถอีแต๋น


ที่มา http://www.puibuatip.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=348806