วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

แหนแดง (Azolla)



แหนแดงเป็นพืชน้ำเล็กๆพวกเฟิร์นชนิดหนึ่งเจริญเติบโตลอยอยู่ผิวน้ำในที่มีน้ำขังในเขตร้อนและอบอุ่น
ทั่วไปแหนแดงที่พบในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดี่ยวคือ Azolla pinnata ต้นแหนแดงประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ ลำต้น(Rhizome) ราก(Root) และใบ(Lafe) แหนแดงมีกิ่งแยกจากลำต้น ใบแหนแดงเกิดตามกิ่งเรียงสลับกันไปแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ใบบน(dorsal lafe) และ ใบล่าง(ventral lafe) มีขนาดใกล้เคียงกัน ใบล่างค่อนข้างโปร่งมีคลอโรฟิลน้อยมาก ใบบนเป็นสีเขียวมีคลอโรฟิลเป็นองค์ประกอบ ใบบนมีโพรงใบและใบสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินอาศัยอยู่ในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (symbiosis) สาหร่ายชนิดนี้สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศแล้วเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบในรูปของแอมโมเนียมให้แหนแดงเอาไปใช้ได้ ทำให้แหนแดงมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูง 3-5 % ประเทศไทยโดยกรมวิชาการเกษตรได้ให้ความสนใจทำการวิจัยค้นคว้าเรื่องแหนแดง พบว่าการเลี้ยงขยายแหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้พอๆ กับการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนตามอัตราที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ


การขยายปริมาณแหนแดงสำหรับใช้เป็นเชื้อพันธุ์
การจัดการให้ได้ปริมาณของเชื้อพันธุ์แหนแดงตามต้องการและภายในระยะเวลาที่กำหนดขึ้นอยู่กับ

ปัจจัยหลัก คือ ปริมาณของเชื้อพันธุ์ที่ใช้เริ่มต้น ขนาดพื้นที่เลี้ยงเชื้อพันธุ์ และระยะเวลาที่ใช้ในการเลี้ยงขยายเชื้อพันธุ์ สำหรับเกษตรกรชาวนาทั่วๆไปซึ่งมีพื้นที่ทำนาไม่มากนัก พื้นที่ใช้สำหรับการเลี้ยงขยายเชื้อพันธุ์จึงใช้พื้นที่เล็กๆเริ่มต้นใช้ประมาณ 500 กรัม/ตารางเมตร ปริมาณแหนแดงดังกล่าวจะกระจายคลุนที่ผิวน้ำบางๆและสามารถเจริญเติบโตเต็มพื้นที่ได้ภายในเวลา 4-6 วัน การเลี้ยงขยายแหนแดงวิธีดังกล่าวเป็นวิธีที่ได้ผลแน่นอน แหนแดงที่ขยายเต็มจะได้น้ำหนักแหนแดงสดประมาณ 1.5-2 กิโลกรัม/ตารางเมตร ด้วยวิธีดังกล่าวแหนแดงจะเพิ่มปริมาณได้ตามต้องการโดยใช้พื้นที่ขยายเชื้อพันธุ์ให้สัมพันธ์บปริมาณที่ต้องการ
การใช้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว


แหนแดงมีคุณสมบัติครบถ้วนสำหรับใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว ขั้นตอนการปฎิบัติการใช้
แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว มีดังนี้


1. เตรียมขยายพันธุ์แหนแดงใช้เป็นเชื้อพันธุ์ในพื้นที่ประมาณ 25-50 ตารางเมตร
ต่อพื้นที่เพาะปลูกข้าว 1 ไร่
2. รักษาระดับน้ำในนาข้าวให้ลึก 5- 10 เซนติเมตร


3. ใส่เชื้อพันธุ์แหนแดง โดยใช้แหนแดงที่ได้เตรียมขยายไว้แล้วอัตรา 50-100กิโลกรัม/ไร่


4. ใส่ปุ๋ยฟอสเฟต อัตรา 3 ก.ก./ไร่ ในวันใส่เชื้อพันธุ์แหนแดง


5. ใส่ปุ๋ยฟอสเฟตปริมาณเท่าเดิมหลังจากแหนแดงอายุ 7-10 วัน

ในสภาพเหมาะสม คือไม่มีปัญหาเรื่องโรคแมลงรบกวน สิ่งแวดล้อมเหมาะสมแหนแดงจะเจริญเต็มพื้นที่นา
ให้น้ำหนักสด 2-3 ตัน/ไร่ ภายในเวลา 2-3 สัปดาห์ ในการปฎิบัติเลี้ยงขยายแหนแดงเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวอาจจะเลี้ยงระยะก่อนปักดำ 3 สัปดาห์แล้วทำการไถกลบพร้อมกับการเตรียมแปลงปักดำข้าว หรือเริ่มเลี้ยงพร้อมปักดำเมื่อแหนแดงขยายเต็มพื้นที่แล้วปล่อยให้ตายเองตามธรรมชาติ
การใส่ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนใส่ในนาแล้วไถกลบ มีประสิทธิภาพสูงกว่าการใส่บนผิวดินโดยไม่มีการไถกลบ
ในกรณีแหนแดงก็เช่นเดียวกัน การเลี้ยงขยายแหนแดงก่อนปักดำแล้วไถกลบในระยะปักดำดีกว่าวิธีไม่ไถกลบ และจากการทดลองของกรมวิชาการเกษตร พบว่าการเลี้ยงแหนแดงหนึ่งชุดก่อนปักดำแล้วไถกลบ ระยะปักดำกับการเลี้ยงปักดำโดยไม่ต้องมีการไถกลบแหนแดงสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ไม่แตกต่างกัน และไม่แตกต่างกับการใช้ปุ๋ยเคมี อัตรา 4.8-6.0 กิโลกรัม N/ไร่

ที่มา
http://www.doae.go.th/spp/biofertilizer/bio3.htm
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=3799.0