วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

มะละกอต้านไวรัส : โจทย์ข้อแรกของพืชจีเอ็มโอในประเทศไทย

ส้มตำเป็นอาหารที่หลายคนชื่นชอบ มาวันนี้เราเห็นว่ามะละกอในจานส้มตำมีจำนวนเส้นน้อยลง ซึ่งไม่ได้เป็นเพราะ การแข็งของค่าเงินบาท หรือราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงลิ่ว แต่เป็นเพราะความหายากของมะละกอ อันเนื่องจากการระบาดของไวรัสใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอนั่นเอง 

แม่ ค้าส้มตำดินแดนเสียงแคน ดอกคูณ เล่าให้ฟังว่า “ราคามะละกอแพงขึ้นเกือบเท่าตัว และบางช่วงมะละกอขาดตลาด ทั้งๆ ที่ก่อนปี พ.ศ. 2546 มะละกอที่ปลูกไว้หลังบ้านมีให้ผลพอทำส้มตำขาย  แต่มาวันนี้กลับต้องซื้อมะละกอจากตลาด” ซึ่งไม่ต่างจากแม่ค้าส้มตำในตลาด กรุงเทพฯ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้เช่นกัน
โรคไวรัสใบด่างจุดวง แหวนเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ Papaya ringspot virus (PRSV) พบในไทยครั้งแรกที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อปีพ.ศ. 2518 ในตอนนั้นไม่เฉพาะประเทศไทยที่พบปัญหาการระบาดของไวรัสชนิดนี้ ประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะละแวกเดียวกันอย่างไต้หวัน หรือข้ามทวีปไปยังฮาวาย ประเทศสหรัฐฯ ต่างประสบปัญหาการระบาดของโรคนี้ทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าจะผ่านมา 30 กว่าปีแล้ว แต่การระบาดของไวรัสใบด่างจุดวงแหวนก็ยังไม่ลดลง ดังเห็นได้จากการสำรวจการปลูกมะละกอในจังหวัดขอนแก่น พบว่าในปีพ.ศ. 2548–มกราคม 2550 เกือบทุกอำเภอพบการระบาดของโรคใบด่างจุดวงแหวน โดยบางหมู่บ้านพบมะละกอที่ปลูกเป็นโรคทุกต้น เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิด เฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่พบการระบาดของโรคอีกในหลายพื้นที่ทั้ง จังหวัดราชบุรี สมุทรสาคร นครปฐม และชุมพร

โรคไวรัสใบด่างจุดแหวนไวรัส ใบด่างจุดวงแหวนมีความน่ากลัวมีอยู่หลายประการ ประการแรกคือ ความสามารถในการเข้าทำลายมะละกอได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต โดยมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะ ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับสภาพและอายุของมะละกอ อาการเกิดได้ในทุกส่วนของต้น แต่จะเห็นชัดในส่วนของใบและผล โดยเฉพาะใบจะด่างเหลือง บิดเบี้ยว หงิกงอ เหมือนหางหนู ถ้าติดเชื้อรุนแรงใบจะเหลือแต่เส้นใบเหมือนเส้นด้าย บริเวณก้านมีจุดฉ่ำน้ำและเส้นประ ส่วนผลมะละกอจะสังเกตเห็นวงเล็กๆ ทั่วทั้งผล เป็นอาการที่เรียกว่า “วงแหวน” บริเวณที่เป็นจุดจะมีลักษณะเป็นไตแข็ง ผิวขรุขระ ยิ่งผลใกล้สุกจะยิ่งเห็นชัดเจน ความเสียหายจากการระบาดของไวรัสใบด่างจุดวงแหวน อาจถึงขั้นมะละกอนั้นไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ และตายในที่สุด

ความน่า กลัวประการที่สองของไวรัสใบด่างจุดวงแหวนคือ เป็นโรคพืชที่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยใช้สารเคมี วิธีแก้ปัญหาที่ทำได้คือต้องทำลายทิ้ง หรือใช้วิธีปลูกแบบกลางมุ้งให้มะละกอเพื่อป้องกันเพลี้ยอ่อนซึ่งเป็นพาหะนำ โรคไม่ให้เข้าไปได้  หรือใช้วิธีย้ายแหล่งปลูกไปเรื่อยๆ เมื่อมีการระบาดของมะละกอในพื้นที่หนึ่ง ก็ทำการย้ายไปยังพื้นที่อื่นๆ ดังนั้น หากพิจารณาถึงพื้นที่รวมทั้งหมดของมะละกอและผลผลิตในแต่ละปีแล้ว พบว่าไม่ได้ลดลงอย่างชัดเจน ทั้งนี้เกิดจากการย้ายพื้นที่ใหม่ในแต่ละปี ปัญหาที่สำคัญคือ เมื่อไวรัสระบาดไปในทุกพื้นที่จนไม่สามารถย้ายไปได้แล้ว จะมีที่ปลอดการ ระบาดของไวรัสใบด่างจุดวงแหวนให้เราปลูกมะละกออยู่อีกหรือไม่

เกษตรกร ผู้ปลูกมะละกอจากชุมพร ยึดอาชีพการปลูกมะละกอมากว่า 20 ปี เล่าให้ฟังว่าการปลูกมะละกอทำได้ยาก ขึ้น จากที่เคยเก็บได้ 2 รอบเมื่อก่อนปี พ.ศ. 2530 มาวันนี้เก็บได้เพียงรอบเดียว ผลผลิตที่ได้น้อยลงมาก บางต้นก็ไม่ให้ผล แม้ว่าจะลองใช้วิธีปลูกพืชอื่นสลับ ก็ยังไม่ได้ผล ทำให้ 2 ปีที่ผ่านมาขาดทุน ถ้ามีวิธีที่ที่ดีกว่าก็อยากจะลอง

โรคไวรัสใบด่างจุดแหวนหาก ย้อนดูตัวเลขพื้นที่การปลูกมะละกอ พบว่าลดลงจาก 150,000 ไร่ในปี พ.ศ. 2546  เหลือต่ำกว่า 100,000 ไร่ในปี พ.ศ. 2549 ผลผลิตมะละกอรวมของประเทศลดลงกว่าครึ่ง แม้ว่าผลผลิตปี พ.ศ. 2549 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2548 แต่เกิดจากการย้ายพื้นที่ปลูกไปยังแหล่งใหม่ เช่นที่จังหวัดจันทบุรี และฉะเชิงเทรา ในขณะที่พื้นที่เดิมต้องเว้นช่วง ไม่สามารถปลูกมะละกอได้

นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสใบด่าง จุดวงแหวน นักวิจัยได้พยายามหา วิธีป้องกันกำจัดโดยใช้เทคนิคและวิธีการต่างๆ หลายวิธี เช่น 

  1. การ กำจัดเพลี้ยอ่อนที่นำโรคมายังมะละกอ แต่วิธีนี้ใช้ไม่ได้ผล เพราะเพลี้ยอ่อนไม่ได้อาศัยอยู่บนต้นมะละกอ และยังใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาทีก็ทำให้มะละกอเป็นโรคได้
  2. การขุดราก ถอนโคนทำลายต้นเป็นโรค วิธีนี้ได้ผลดีเฉพาะพื้นที่ปลูกที่ห่างไกลจากแหล่งปลูกมะละกอ หรือมีพืชกำบังเพื่อป้องกันไม่ให้เพลี้ยอ่อนจากนอกพื้นที่เข้ามาเท่านั้น
  3. หา พันธุ์ต้านทานโรคในธรรมชาติ หรือปรับปรุงพันธุ์ต้านทานโดยวิธีผสมเกสร ซึ่งเป็นวิธีที่ดี แต่ยังไม่สามารถพัฒนาพันธุ์ที่ต้านทานโรคได้
  4. การ ทำมะละกอจีเอ็ม ซึ่งเป็นวิธีสุดท้าย และเป็นที่ยอมรับของหลายประเทศ และถือเป็นความหวังหนึ่งของเกษตรกรที่กำลังประสบปัญหาการระบาดของไวรัสใบ ด่างจุดวงแหวนอยู่
การทำมะละกอจีเอ็มเป็นการเลียนแบบการทำ วัคซีนให้กับมะละกอ แต่ใส่เฉพาะยีนของโปรตีนที่ห่อหุ้มไวรัสเท่านั้น โดยใช้เทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรม การพัฒนามะละกอจีเอ็มนี้มีในหลายประเทศรวม ทั้งประเทศไทยด้วย สำหรับการพัฒนามะละกอจีเอ็มในประเทศไทยอยู่ในระหว่างการ รอทดสอบในแปลงปลูกหรือการทดสอบภาคสนาม ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการทดสอบความปลอดภัยเพื่อให้มีข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่ ชี้ว่ามะละกอจีเอ็มปลอดภัยกับระบบนิเวศจริงหรือไม่

ถ้าเรายอมแพ้ต่อ เชื้อโรคนี้ คงไม่มีพื้นที่ปลูกมะละกอเหลือรอดให้ได้เก็บผล ส้มตำมะละกอคงหายไปจากเมนูอาหารยอดนิยมของคนไทย  เราจะหยุดหรือเดินต่อ ……
ข้อมูลโดย ... ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ


ที่มา http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/81-gmo-papaya