วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (GMOs)

 
ประเด็นอุบัติใหม่หรือผลกระทบที่สำคัญ
ยาและ เวชภัณฑ์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมมีการซื้อขายแพร่ หลายและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ตลาดมีขนาดใหญ่และอัตราการเติบโตสูง ประเทศไทยมีความหลากหลายของสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็น ยา/สารประกอบของยา และมีเทคโนโลยีพร้อมจะพัฒนาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์
ตลาด พืชดัดแปรพันธุกรรมทั่วโลกมีการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยมีโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อเพิ่ม โอกาสในการแข่งขันเช่นกัน เนื่องจากอายุการคุ้มครองสิทธิบัตรเทคโนโลยีด้านพันธุกรรมหลายชิ้นหมดหรือ กำลังจะหมดลง ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีให้ขยายการทดลองพืชดัดแปรพันธุกรรมไปสู่ระดับแปลง การทดลองราชการได้ และอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพของ เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ พ.ศ.... นับเป็นปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญในอีกด้านหนึ่งประเทศไทยอยู่ท่ามกลางกระแสการ กดดันให้เปิดเสรีทางการค้า ทำให้การเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีดัดแปรพันธุกรรมเข้าสู่ประเทศไทย ได้ง่ายขึ้น ประเทศคู่ค้าสำคัญบางประเทศ เช่น สพภาพยุโรป ญี่ปุ่น เข้มงวดต่อการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารดัดแปรพันธุกรรม ซึ่งอาจส่งผลการเพิ่มต้นทุนการผลิต/การส่งออก
ด้วยพัฒนาการเช่นนี้ ประเด็นอุบัติใหม่ที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งจะส่งผลกระทบชัดเจนและรุนแรงต่อประเทศในอนาคต ควรได้รับการวางแผนรับมือโดยเร็วนั้น มีดังนี้
1. ประเด็นการอยู่ร่วมกันให้ได้ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ขณะนี้มีทั้งผูู้้ที่ต้องการและไม่ต้องการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีหรือ ผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม ซึ่งแนวโน้มยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปในอนาคตแต่ประเทศไทยยังขาดมาตราการที่จะ แยกการใช้ประโยชน์ในทั้งสองกลุ่มที่แตกต่างกัน (GM vs. non-GM) นี้ บนฐานของการรักษาสมดุลทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้และ ไม่ต้องการใช้ประโยชน์ ปัญหาความขัดแย้งและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาจะไม่สามารถป้องกันได้ถ้าไม่ มีความเข้าใจที่ถูกต้อง การบริหารจัดการที่ดี และกฎระเบียบที่เหมาะสม
 2. ประเด็นความรู้ความเข้าใจของสังคม ขณะนี้สังคมยังขาดกลไกที่จะทำให้เข้าถึงเข้าความรู้ความเข้าใจที่ครบถ้วน เพียงพอและทำให้ไม่เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ด้านพันธุวิศวกรรม โดยข้อมูลสำคัญที่ยังขาด คือด้านความปลอดภัย/ความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ดัดแปรพันธุกรรมทั้งในด้านอาหาร และต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงข้อมูล
ผลกระทบด้านสังคมเศรษฐกิจตลอดห่วงโซ่ อุปทาน การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องนี้มีส่วนสำคัญที่จะกระทบต่อการตัดสินใจ อย่างมีเหตุผลทั้งในระดับส่วนบุคคล และระดับนโยบาย
 3. ประเด็นการพึ่งพาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมของต่างประเทศ ประเทศไทยจะยังต้องพึ่งเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ หากไม่อาจใช้ข้อได้เปรียบที่มีอยู่ในการเพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเองทาง เทคโนโลยี/ผลิตภัณฑ์ เพื่อรองรับความต้องการใช้ภายในประเทศและเตรียมพร้อมสำหรับโอกาสใหม่ได้ อย่างเต็มที่

ที่มา http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/666-gmos