วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การวางแผนการปลูกข้าว


โดยทั่วไปแล้วสำหรับการปลูกข้าวนั้นมักจะมีการนำเรื่องของช่วงแสงหรือความสั้นยาวของวันมาพิจารณาด้วย ทำให้สามารถแบ่งข้าวออกเป็น 2 ประเภทคือ ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง และข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ข้าวไวต่อช่วงแสงจะสามารถออกดอกเมื่อมีความยาวของกลางวันสั้นกว่าความยาวของกลางคืน ซึ่งในบ้านเรานั้นเวลาดังกล่าวจะตกอยู่ประมาณเดือนตุลาคม ข้าวพวกไวต่อช่วงแสงนี้จะต้องปลูกในฤดูนาปี ขณะที่ข้าวพวกไม่ไวต่อช่วงแสงนั้นสามารถปลูกได้ทุกฤดูการเพราะข้าวพวกนี้จะออกดอกและสามารถเก็บเกี่ยวเมื่ออายุครบตามกำหนด ช่วงแสงไม่มีอิทธิพลในการทำให้ข้าวพวกนี้ออกดอก ดังนั้นควรที่จะมีการวางแผนปลูกข้าวที่เหมาะสมเพื่อลดปัญหาต่างๆและให้ได้มาซึ่งผลผลิตที่สูงสิ่งที่ต้องพิจารณาในการปลูกข้าวนั้นได้แก่

1.ลักษณะของการเจริญเติบโตและพัฒนาการในระยะต่างๆของข้าว ก่อนการปลูก เราต้องทราบและเข้าใจเกี่ยวกับระยะการเจริญเติบโตและพัฒนาการของข้าวพันธุ์นั้นๆ ตั้งแต่เริ่มตกกล้าจนถึงเก็บเกี่ยว ในข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสงนั้นมีระยะเวลาคงที่ในส่วนของการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางด้านลำต้นและใบนั้นผันแปรขึ้นอยู่กับการจัดการของเราดังตารางที่ 2.5
2.ช่วงแสงและฤดูการปลูก จากที่ได้กล่าวไปแล้วว่าในพันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสงนั้น ช่วงแสงจะมีอิทธิพลบังคับให้พวกนั้นออกรวงตามกำหนดเวลาที่แน่นอน ยกตัวอย่างเช่น ข้าวดอกมะลิ 105 ที่ปลูกอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่จะออกรวงในราวๆวันที่ 26 ตุลาคม ของทุกๆปี และจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ราวๆ 26 พฤศจิกายน ดังนั้นฤดูการปลูกข้าวพวกนี้จึงจำกัดอยู่เฉพาะในฤดูนาปีเท่านั้น เพราะมีความจำกัดในเรื่องของช่วงแสงที่เหมาะสม ส่วนข้าวพวกที่ไม่ไวต่อช่วงแสงนั้น ไม่มีปัญหาสามารถปลูกได้ทั้งฤดูทำนาปีและฤดูทำนาปรัง ข้าวพวกนี้จะสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุครบตามกำหนดของพันธุ์นั้นๆ

ข้าวไม่ไวแสงพันธุ์ส่งเสริมของทางราชการนั้นอายุการเก็บเกี่ยวส่วนใหญ่ประมาณ 12-130 วัน ยกเว้นพันธุ์ กข.25 ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์เบามีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 100 วัน ดังนั้นในการวางแผนการปลูกสำหรับฤดูการทำนาปีนั้น ส่วนใหญ่แล้วมักจะกะให้ช่วงเก็บเกี่ยวอยู่ในระยะที่หมดฤดูฝนแล้วคือประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป เพื่อลดปัญหาความเสียหายขณะเก็บเกี่ยว นอกจากนี้บางครั้งยังอาจต้องพิจารณาถึงช่วงสุกแก่ของข้าวในแปลงเกษตรกรข้างเคียงเพื่อลดความเสียหายจากการทำลายของนก เพราะถ้าเราปลูกก่อนและข้าวของเราออกรวงก่อนแปลงอื่นๆที่อยู่ข้างเคียงมักจะมีปัญหาการทำลายของนกมากที่เดียว เมื่อเราสามารถกะวันเก็บเกี่ยวได้แล้วเราก็นับถอยหลังตามอายุของข้าวพันธุ์นั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องกันปลุกข้าวพัน กข.7 ซึ่งมีอายุเก็บเกี่ยวราวๆ 120 วัน และเรากะที่จะเก็บเกี่ยวราวๆปลายเดือนพฤศจิกายน เราก็ควรเริ่มตกกล้าราวๆกลางเดือนกรกฎาคม เป็นต้น

สำหรับพันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสงนั้นระยะเวลาจากปักดำถึงระยะตั้งท้องนั้นจะผันแปรขึ้นอยู่กับวันปลูก ดังนั้นการที่ปล่อยให้ระยะปักดำ-ตั้งท้อง ซึ่งเป็นระยะเวลาในการเจริญเติบโตเพื่อสร้างลำต้นหรือการแตกกอน้อยเกินไป คาร์โบไฮเดรตที่ได้รับจากการสังเคราะห์แสงในส่วนที่ต้นข้าวสะสมไว้เพื่อที่จะได้เคลื่นย้ายไปยังส่วนที่จะพัฒนาไปเป็นดอกและเมล็ดจะน้อย ซึ่งทำให้เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์เมล้ดลีบเป็นสาเหตุให้ผลผลิตข้าวที่ได้รับน้อยลงไปด้วย หรือปล่อยให้ระยะเวลาปักดำจนถึงตั้งท้องยาวนานเกินไปก็มักจะพบปัญหาเกี่ยวกับโรคแมลงเข้ารบกวน และการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบมากเกินไป ต้นข้าวมักจะหักล้มมีผลทำให้ผลผลิตข้าวลดน้อยลงเช่นกัน

จากการทดลงของกรมวิชาการเกษตรพบว่า อายุในการเจริญเติบโตในช่วงปักดำ-ตั้งท้อง ประมาณ 55- 60 วัน เป็นระยะที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับข้าวพวกไวต่อแสง ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือปริมาณน้ำฝน มักจะพบเสมอว่าบางปีฝนตกล่าช้าไม่ถูกต้องตามฤดูกาลทำให้การปักดำต้องเลื่อนออกไป ระยะการเจริญเติบโตตั้งแต่ปักดำ-ระยะตั้งท้องก็สั้นเข้า โอกาสเจริญเติบโตในการแตกกอและสะสมอาหารก็น้อย ทำให้ผลผลิตน้อยลงไปด้วย เนื่องจากเมล็ดไม่สมบูรณ์หากเจอสภาพเช่นนี้เราอาจจะต้องเลือกพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสงปลูกแทน ซึ่งจะทำให้ผลดีกว่า จากข้อมูลต่างๆ ที่ได้กล่าวมานี้พอจะสรุปเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการเตรียมต้นกล้าเพื่อการปลูกข้าวที่เหมาะสมในที่นี้จะยกตัวอย่างถ้าเราต้องการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่นั้น เราจะต้องวางแผนการปลูกดังนี้



ที่มา http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=3907&s=tblrice