วันเสาร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2553

กากน้ำตาล

ดร. สันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์
http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp?i1=83&i2=15


กาก น้ำตาล (molasses) เป็นของเหลวที่มีลักษณะข้นเหนียวสีน้ำตาลดำ ที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาลทรายจากอ้อย เนื่องจากกรรมวิธีการผลิตน้ำตาลทรายจากอ้อยนั้น เริ่มจากการนำอ้อยเข้าหีบได้น้ำอ้อย กรองเอากากออกจากน้ำอ้อยแล้วเคี่ยว น้ำอ้อยจนได้ผลึกของน้ำตาลทรายตกตะกอนออกมา แยกผลึกน้ำตาลทรายด้วยหม้อปั่น (centrifuge) ผลพลอยได้ที่สำคัญจาก การผลิตน้ำตาลทรายด้วยวิธีนี้ได้แก่ กากน้ำตาล ขี้ตะกอน (filter cake) และกากอ้อย (bagasses)

กากน้ำตาล เป็นผลพลอยได้ที่มีคุณค่ามากที่สุด เป็นส่วนของของเหลวที่เหลือหลังจากการแยกเอาผลึกของน้ำตาลออกแล้วมีลักษณะ
เหนียว ข้น สีน้ำตาลเข้ม องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำตาลซูโครสที่ไม่ตกผลึก ในการผลิตน้ำตาลทรายนั้นจะมีกากน้ำตาลซึ่งเป็น ผลพลอยได้เกิดขึ้นประมาณ 4 ถึง 6% ของปริมาณอ้อยที่ใช้ในการผลิต กากน้ำตาลสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ตามกรรมวิธีใน การผลิตน้ำตาลทราย คือ

1. กากน้ำตาลที่ได้จากการผลิตน้ำตาลทรายขาว (plantation white sugar) ซึ่งเราเรียกว่า black–strap molasses จะมีปริมาณน้ำตาลอยู่ประมาณ 50–60%
2. กากน้ำตาลที่ได้จากการผลิตน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ (refine sugar) ซึ่งเราเรียกว่า refinery molasses จะมีปริมาณน้ำตาลอยู่ประมาณ 48%
3. กากน้ำตาลที่ได้จากการทำบางส่วนของน้ำอ้อยแปรสภาพให้เข้มข้นโดยการระเหย (inverted can juice) ซึ่งเราเรียกว่า invert molasses หรือ hightest molasses วิธีนี้เป็นการผลิตกากน้ำตาลโดยตรง

ประโยชน์ที่ได้จากกาก น้ำตาลมีมากมาย เนื่องจากในกากน้ำตาลประกอบด้วยน้ำตาลประมาณ 50–60% และแร่ธาตุต่างๆ ประโยชน์ที่เห็นได้โดยตรง เช่น ใช้เป็นอาหารสัตว์ เนื่องจากกากน้ำตาลประกอบด้วยน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ซึ่งเป็นแหล่งอาหาร พลังงานที่เหมาะสมและราคาไม่แพง จึงมีการใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์หลายชนิด ใช้เป็นปุ๋ย เพราะในกากน้ำตาลมี ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับพืช นอกจากนี้กากน้ำตาลยังใช้เป็นวัตถุดิบใน อุตสาหกรรมการหมักหลายชนิด เช่น อุตสาหกรรมการหมักแอลกอฮอล์ สุรา กรดมะนาว กรดน้ำส้ม กรดแล็กติก ผงชูรส ยีสต์ขนมปัง และยีสต์อาหารสัตว์ เนื่องจากกากน้ำตาลมีราคาถูกและเหมาะสมกว่าเมื่อเทียบกับวัตถุดิบชนิดอื่น



ปัญหาของกากน้ำตาล เกิดจากการนำไปหมักกับพืชผักผลไม้ใช้ระยะเวลาสั้น ๆ อาจจะเป็น 7 วัน 15 วัน แล้วนำไปใช้ ก็จะทำให้เกิดปัญหา กับดิน
หรือเกษตรกรบางท่านผสมกากน้ำตาล กับน้ำหมักชีวภาพแล้วฉีดพ่น หรือรดพืชผักผลไม้เลย ก็จะทำให้เกิดปัญหาแก่ดินอีกเช่นกัน
หากต้องการใช้กากน้ำตาล ในการหมักน้ำเอนไซม์สำหรับพืชก็ต้องนำน้ำเอนไซม์ มาหมักกับกากน้ำตาลในอัตราส่วน

เอนไซม์ 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำมะพร้าว 1 ส่วน + เปลือกสับปะรด 1 ส่วน

เป็น เวลา 3-6 เดือน
เพื่อสลายปูนขาวที่ติดมากับกากน้ำตาล ซึ่งเป็นตัวทำให้ดินแข็งกระด้าง เกิดการอุดตันของชั้นดิน และชั้นน้ำใต้ดิน ทำให้เกิดเชื้อราดำที่ราก ของพืช เกิดรากเน่า
กากน้ำตาลจะสลายได้เร็ว หรือช้า ขึ้นอยู่ที่ความเปรี้ยวของการหมัก การที่เราใส่น้ำมะพร้าวลงไป เพราะเป็นน้ำตาลกลูโคส และฟรุกโตส เป็น อาหารของยีสต์
ส่วนเปลือกสับปะรด จะมีจุลินทรีย์ที่ตาสับปะรดจำนวนมากกว่าผลไม้อื่น เมื่อนำมาใช้ในการหมักจะทำให้เกิดน้ำส้มสายชูได้เร็ว จึงช่วยใน การสลายกากน้ำตาลได้เร็วยิ่งขึ้น

การ ขยายเอนไซม์ที่หมักจากกากน้ำตาล

นำ เอนไซม์ 2 ปี 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำ 10 ส่วน

ขยาย ต่อได้ทุก 2 เดือน
จะได้น้ำเอนไซม์สำหรับฉีดไล่แมลงศัตรูพืช และโรคพืช โดยนำน้ำเอนไซม์ 1 ส่วน ต่อน้ำ 100 ส่วน ผสมกันแล้วฉีดพ่น ใช้บำบัดน้ำเสีย ให้เป็นน้ำสะอาดได้อีกด้วย
เอนไซม์ที่หมักจากกากน้ำตาลขยายทุก 2 เดือนให้ได้ถึง 6 ปี หรือยิ่งนานยิ่งดี ยิ่งจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตัวอย่าง ของเกษตรกรสวนส้ม คือ คุณกำพล ธัญญธาร เป็นเจ้าของสวนส้ม 100 ไร่
มีส้ม 5,000 ต้น จังหวัดปทุมธานี โทร.(02)901045, 9059081, (01)8011644 คุณกำพล และกลุ่มเพื่อน ๆ ได้ไปอบรมเกี่ยวกับเกษตร อินทรีย์ แล้วนำกลับมาใช้ที่สวนส้มของตนเองโดยใช้น้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำ 100 ส่วน
ฉีดพ่นใบ ดอก ผลของส้ม โดยหวังว่าคงจะเร่งใบ เร่งดอก เร่งผลผลิต แต่กลับกลายมีเพลี้ยขึ้นต้นส้มเต็มไปหมด แล้วมดก็ตามมามากมาย
ดอกส้มที่คิดว่าจะติดผลมาก แรกก็ดูจะคิดดี แต่พอทิ้งไว้สัก 2-3 วัน ดอกก็ร่วง นำไปรดโคนต้น ก็เกิดดินแข็งกระด้างเป็นดาน รดน้ำไม่ลง จึงต้องรีบหยุดใช้ รวมทั้งสมาชิกเพื่อน ๆ ของ คุณกำพลด้วย
ตอนนี้ คุณกำพลมีน้ำหมักหัวปลา ที่หมักไว้กับกากน้ำตาล ก็นำมาหมักใหม่ โดยใช้อัตราส่วน

น้ำหมักหัวปลา 6 กก. + น้ำเอนไซม์ 6 กก. + น้ำ 60 ลิตร

หมักทิ้งไว้ 3 เดือน
จึงจะนำมาใช้ได้ สังเกตดูว่ามีกลิ่นเปรี้ยว หรือความหนืดของกากน้ำตาหายไป จึงนำมาใช้ได้
ยัง มีสวนส้ม ที่จังหวัดเชียงใหม่ พระอธิการนพดุล โทร.(01)4859595 สวนส้มจังหวัดระยอง โทร.(01)3400269 ก็ได้ผลกระทบจากการใช้ น้ำหนัก ที่ไม่สลายกากน้ำตาลให้สิ้นสุดขบวนการก่อนนำไปใช้

ส่วนประกอบของกากน้ำตาลหรือ โมลาส

น้ำ 20.65
ซูโครส 36.66
ริดิวซิงชูการ์ 13.00
น้ำตาล ที่ใช้หมักเชื้อ 50.10
เถ้าซัลเฟต 15.00
ยางและแป้ง 3.43
ขี้ ผึ้ง 0.38
ไนโตรเจน 0.95
ซิลิกาในรูป SiO2 0.46
ฟอสเฟต P2O5 0.12
โปแตสเซี่ยม K2O 4.19
แคลเซียม CaO 1.35
แมกนีเซียม MgO 1.12

http://www.ku.ac.th/e-magazine/december45/know/sugar.html