วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

อีกหนึ่งงานวิจัยเกี่ยวกับหมากเม่าหรือเม่าหลวง

อีกหนึ่งงานวิจัยเกี่ยวกับหมากเม่าหรือเม่าหลวง



Photobucket

000 งานวิจัยเรื่อง ศักยภาพของการใช้สารสกัดโพลีฟีนอลจากไม้มะเม่าและไวน์แดงสยามมัวส์ ในการป้องกันและรักษาโรคมะเร็ง

โดย : อาจารย์สมาน เดชสุภา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หลักการและเหตุผล

ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งด้วยสารเคมีการดื้อยายังเป็นปัญหาหลัก การหาโมเลกุลใหม่โดยเฉพาะจากธรรมชาติจึงเป็นหนึ่งทางเลือกเพื่อลดปัญหาการ ดื้อยาดังกล่าว หน่วยวิจัย PCMCB ได้ผลิตไวน์แดงสยามมัวส์ซึ่งเป็นแหล่งรวมสารกลุ่มโพลีฟีนอลที่ได้จากองุ่นดำ สายพันธุ์ปอร์ตูกีเซอร์และจากไม้มะเม่าหลวงเพื่อศึกษาถึงฤทธิ์ในการยับยั้ง และป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาถึงฤทธิ์ของสารโพลีฟีนอลที่สกัดจากไม้มะเม่าและไวน์แดง สยามมัวส์ในการยับยั้งและป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมที่ เลี้ยงในห้องทดลองและที่ปลูกในหนูเปลือย

วิธีการศึกษา
1. ทดสอบความเป็นพิษของสารโพลีฟีนอลต่อเซลล์มะเร็งด้วยเทคนิค MTT assay โดยพิจารณาหาค่าการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่ 50 (IC50)
2. ปลูกเซลล์มะเร็งเต้านมชนิด MDA-MB-435 จำนวน 5 ล้านเซลล์ที่บริเวณราวนมของหนูเปลือย
3. ดูความสารมารถในการชักนำให้เซลล์มะเร็งตายแบบอะปอบโตสีส โดยศึกษาด้วยเทคนิคซิน-ทีกราฟี ติดตามการสะสมของสารเภสัชรังสี 99mTc-hynic-Annexin V ที่จับกับฟอสฟาทีดิล บนผิวเซลล์ที่มีการตายแบบอะปอบโตสีส ในก้อนมะเร็ง พิจารณาค่า ROI
4. ศึกษาการตายแบบอะปอบโตสีสในเนื้อเยื่อมะเร็งและเนื้อเยื่อตับด้วยเทคนิค อิมมูโนฮีทโตเคม

ผลการศึกษา

การศึกษานี้ใช้เซลล์มะเร็งเต้านม (MDA-MB-435) ชนิดไม่ขึ้นกับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นแม่แบบ สารโพลีฟีนอลที่ใช้ได้แก่ เคอร์เซอติน สารสกัดมะเม่าหลวง และสารสกัดไวน์แดงสยามมัวส์ พบว่าความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในระดับระดับห้อง ทดลองที่ 50% (IC50) มีค่าเท่ากับ 4.58 ± 0.73, 58 ± 9 และ 70 ± 3.4 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สำหรับเคอร์เซอติน สารสกัดมะเม่าหลวง และสารสกัดผสมทั้งสองตามลำดับ นอกจากนี้สารสกัดที่ใช้ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์กล้ามเนื้อของคนที่นำมา เลี้ยงในห้องทดลองเมื่อเปรียบเทียบกับดอกโซรูบีซีนแม้ความเข้มข้นที่ใช้สูง ถึง 500 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร แต่กลับมีความสามารถช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของเซลล์ ในหนูเปลือยที่ได้รับการปลูกมะเร็งเต้านมสารโพลีฟีนอลที่ใช้มีความสามารถชัก นำให้เซลล์มะเร็งเกิดการตายแบบอะปอบโตสีสโดยติดตามด้วยสารเภสัชรังสี 99mTc-hynic-Annexin V ที่จำเพาะต่อฟอสฟาทีดิลซีรีนที่บนผิวเซลล์ที่มีการตายแบบอะปอบโตสีส พบสารสกัดมะเม่าหลวง (ปริมาณสารที่ใช้ 1/3 เท่า ของค่า IC50) มีประสิทธิภาพสูงสุด ถัดมาเป็นสารสกัดผสมอัตราส่วน1 ต่อ 1 (1/4เท่า ของค่า IC50) และเคอร์เซอติน (1 เท่า ของค่า IC50) ตามลำดับ เมื่อเทียบกับหนูชุดควบคุม โดยวัดเปอร์เซ็นต์การสะสมของสารเภสัชรังสีที่ก้อนมะเร็งต่อน้ำหนัก ก้อนมะเร็งตามลำดับเป็นดังนี้ 328%, 242% และ 200% ผลการศึกษาเนื้อเยื่อมะเร็งด้วยเทคนิคอิมมูโนฮีทโตเคมยืนยันสอดคล้องเป็น อย่างดีถึงการตายแบบ อะปอบโตสีสที่ได้จากเทคนิคซินทิกราฟีและยืนยันเช่นกันว่าสารโพลีฟีนอลใน ปริมาณที่ใช้ไม่เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อตับ

สรุปผล

การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าไวน์แดงสยามมัวส์ที่เป็นแหล่งรวมของสาร โพลีฟีนอลมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งทั้งในระดับห้อง ทดลองและหนูทดลองที่ดีกว่าสารโพลีฟี-นอลมาตรฐานเคอร์เซอติน โดยไม่เป็นพิษต่อเซลล์ตับของหนูและเซลล์กล้ามเนื้อของคนในระดับความเข้มข้น ที่ใช้ การศึกษานี้ได้ชี้นำให้เห็นว่าการดื่มไวน์แดงหรือรับประทานสารสกัดโพลีฟีนอ ลนั้นมีผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ดังนั้นการแนะนำให้ดื่มไวน์แดง เช่น ไวน์แดงสยามมัวส์ หรือรับประทานสารสกัดที่ได้จากไวน์แดงสยามมัวส์หรือมะเม่าหลวงเป็นประจำในคน ทั่วไป หรือผู้ป่วยมะเร็งโดยแพทย์นั้นจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันรักษาโรค มะเร็ง

เอกสารอ้างอิง
1. Spontaneous mitochondrial membrane potential change during apoptotic induction by quercetin in K562 and K562/adr cells. Kothan S., Dechsupa S., Léger G., Moretti JL, Vergote J. and Mankhetkorn S., Canadian Journal of Physiology and Pharmacology, 82 (12) (2004): 1084-1090.
2. 99mTc-hynic-Annexin V scintigraphy for monitoring apoptosis of breast cancer MDA-MB-435 cells induced by mamoa extract alone and mixture of mamoa extract and Siamois red wine powder in cancerous nude mice. Dechsupa S., Kothan S., Vergote J., Leger G., Hauet N., Traikia M., Martineau A., Beranger B., Kosanlavit R., Moretti JL., and Mankhetkorn S. Mid-year 2005 Scientific Meeting of Nuclear Medicine Society of Thailand, August 15-17, 2005, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.
หยิบ มาจากhttp://www.dtam.moph.go.th/alternative/viewstory.php?id=445
ตาม ไปดูนะครับ

ที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=raimaoberry&month=11-2008&date=11&group=2&gblog=3