วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ข้อกำหนด GAP










ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้ให้ความหมายของคำนี้ว่า “เกษตรดีที่เหมาะสม” โดยมีความหมายว่า เป็นแนวทางในการทำเกษตรกรรม เพื่อให้ได้....

ผลผลิตที่มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด
ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด
ให้ผลผลิตคุ้มค่ากับการลงทุน
กระบวนการผลิตปลอดภัยต่อเกษตรกร
ผลผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สามารถตรวจสอบและสอบทวนได้
ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งมีชีวิตอื่นและสภาพแวดล้อม
เกิดความยั่งยืนทางเกษตร





หลักการ

GAP
เป็นระบบการจัดการคุณภาพด้านการผลิตทางการเกษตร ซึ่งใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตให้ได้ผลผลิตที่มีความปลอดภัย ปราศจากการปนเปื้อนจากสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช จุลินทรีย์ก่อโรค และโดยดำเนินการผลิตอย่างเป็นระบบ มีการจัดการที่ดี ถูกต้องและเหมาะสม โดยคำนึงถึงสุขภาพของผู้ปลูก ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม


เกษตรกรใช้สารเคมีอย่าง เหมาะสม
/เท่าที่จำเป็น สุขอนามัยในการผลิตพืช
จดบันทึกการทำงาน
ที่ปรึกษาเกษตรกร ให้คำปรึกษาด้าน
โรคพืชและแมลงศัตรูพืช
การประเมินความเสี่ยงในแปลงปลูก
ตรวจติดตามวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง
Pocking House
การจัดการสุขลักษณะและสุขอนามัย






ทำไมต้องผลิตพืชตามระบบ GAP ?
เกณฑ์การพิจารณาและวิธี ปฏิบัติเพื่อเข้าสู่ระบบ GAP
ประโยชน์ของ GAP
การวิเคราะห์ความเสี่ยงและ การป้องกัน
การป้องกันความเสี่ยงทำได้ อย่างไร?
ข้อกำหนด GAP





ทำไมต้องผลิตพืชตามระบบ GAP ?

เนื่องจากระบบการผลิตในปัจจุบันยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ผลิต (เกษตรกร) ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม และยังไม่มีมาตรการหรือกลไกที่เหมาะสมในการป้องกันอันตรายอันเกิดจากผักและ ผลไม้สดปนเปื้อนสารพิษตกค้างอันเกิดจากการใช้สารเคมีประเภทต่างๆ และการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ก่อโรคในคน ดังนั้นทุกภาคส่วนของการผลิตจึงต้องร่วมมือกันรณรงค์ให้เกิดการผลิตที่ถูก ต้องอย่างจริงจัง และมีมาตรการการควบคุมที่เข้มแข็ง

เพิ่มคุณค่าและคุณภาพของผลผลิต อันส่งผลถึงภาพรวมของคุณภาพผลผลิตการเกษตรในระดับประเทศ





เกณฑ์การพิจารณาและวิธีปฏิบัติเพื่อ เข้าสู่ระบบ GAP

1. ระบบการผลิตที่ต้องมีเอกสารบันทึกที่สามารถตรวจสอบติดตามได้
2. มีการตรวจสอบการปนเปื้อนของสารพิษในผลผลิต อันอาจเกิดจากการใช้ สารเคมีควบคุมศัตรูพืช (สารป้องกันกำจัดโรคพืช แมลง และวัชพืช)
3. มีการตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในคน
4. มีการตรวจสอบผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ และสภาพแวดล้อม


ทั้งนี้การตัดสินใจตรวจวิเคราะห์ในข้อใดข้อหนึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ผู้ตรวจสอบรับรอง




ประโยชน์ของ GAP

ผลผลิตพืชมีคุณภาพดี ไม่มีการปนเปื้อนจากสิ่งต้องห้ามทุกชนิด ผู้ผลิต (เกษตรกร) และผู้บริโภคปลอดภัย
ลดการใช้สารเคมีควบคุมศัตรูพืชลง ให้ใช้เท่าที่จำเป็น
เน้นการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
สร้างจิตสำนึกของเกษตรกรผู้ผลิต / ผู้ค้าปัจจัยการผลิต และผู้บริโภค
เพิ่มมูลค่าผลผลิต




การวิเคราะห์ความเสี่ยงและการป้องกัน

ความเสี่ยง (Risk) หมายถึงโอกาสที่เกิดความสูญเสียอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะนำความเสียหายมาสู่ ระบบการผลิตแบบ GAP
ความเสี่ยงในระบบการผลิต ประกอบด้วย


- การปนเปื้อนของสารเคมีต้องห้ามและสารควบคุมศัตรูพืช
- การปนเปื้อนของเชื้อโรคคน
- การปนเปื้อนของธาตุโลหะหนัก จากดิน น้ำ สารคลุกเมล็ด ฯลฯ
- การปนเปื้อนระหว่างการเก็บเกี่ยวและการจัดการผลิตภัณฑ์
แหล่งกำเนิดของการปน เปื้อน

1. การปนเปื้อนจุลินทรีย์ก่อโรคในคนอาจติดมาจาก
ดิน น้ำชลประทานที่ใช้เพาะปลูก มูลสัตว์สด หรือมูลสัตว์แห้ง การใช้ปุ๋ยหมักที่หมักไม่สมบูรณ์ สัตว์เลี้ยงที่ปล่อยในแปลงปลูก หรือไม่ได้เลี้ยงในคอก มือไม่สะอาดขณะที่สัมผัสกับผลผลิตโดยตรง เครื่องมือ อุปกรณ์ในการเก็บเกี่ยว น้ำล้างผลผลิต ภาชนะบรรจุ น้ำแข็ง การขนส่ง

2. การปนเปื้อนสารเคมีอันตราย
ดิน น้ำ สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช การทิ้งภาชนะบรรจุเคมีภัณฑ์ในร่องสวนหรือแปลงปลูก แปลงปลูกพืชข้างเคียงที่มีการใช้สารเคมี




การป้องกันความเสี่ยงทำได้อย่างไร?

อบรมเกษตรกร และพนักงานที่เกี่ยวข้องทุกขั้นตอน ให้ทราบถึงความเสี่ยง และวิธีการป้องกัน
ลดความเสี่ยงทุกประเภทในระบบการผลิตในฟาร์มตั้งแต่ก่อนปลูกพืช เช่น เลือกพื้นที่ปลูก
เลือกใช้ปัจจัยการผลิตที่เป็นอันตรายน้อยที่สุด (ปุ๋ย สารเคมีควบคุมศัตรูพืช ฯลฯ)
ควบคุมความสะอาดของโรงงานแปรรูป เจ้าหน้าที่โรงงานแปรรูป วิธีการบรรจุ และยานพาหนะที่ใช้ขนส่ง
ตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงจากผลผลิต วิธีการผลิต และผู้ปฏิบัติงานเป็นระยะๆ


ที่มา http://www.gapcluster.com/menu2.htm

ข้อมูล Gap