วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ปลูกยางพาราแล้วได้อะไร

ปลูกยางพาราได้อะไร ?
1. สร้างป่า, สร้างชีวิต
2. มากคุณค่าทางเศรษฐกิจ
3. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันทั่วโลก ปลูกยางอยู่ 24 ประเทศ พื้นที่รวม 66 ล้านไร่ โดยปลูกกระจายอยู่ 3 ทวีปได้แก่
1. ทวีปเอเชีย มี 12 ประเทศได้แก่ ไทย , อินโดนีเซีย , มาเลเซีย , อินเดีย , จีน , เวียดนาม , ศรีลังกา ,
พม่า , กัมพูชา , บังคลาเทศ , ฟิลิปปินส์ , ปาปัวนิวกีนี
2. ทวีปอาฟริกา มี 9 ประเทศได้แก่ คาเมรูน , โคดดิวัวร์ , กาบอง , กานา , กินี , ไนจีเรีย , ไลบีเรีย ,สหภาพแอฟริกา , สาธารณรัฐคองโก
3. ทวีปอเมริกาใต้ มี 3 ประเทศได้แก่ บราซิล , กัวเตมาลา , เม็กซิโก
ประเทศที่ผลิตยางธรรมชาติได้มาก 10 อันดับแรกของโลกได้แก่
1. ไทย
2. อินโดนีเซีย
3. มาเลเซีย
4. อินเดีย
5. จีน
6. เวียดนาม
7. โคดดิวัวร์
8. บราซิล
9. ศรีลังกา
10. ไนจีเรีย


ประเทศ ที่ส่งออกยางธรรมชาติมากที่สุด 4 อันดับแรกได้แก่
1. ไทย ผลิตได้ 3.09 ล้านตัน ส่งออก 2.7 ล้านตัน ใช้ในประเทศ 3.9 แสนตัน
2. อินโดนีเซีย ผลิตได้ประมาณ 2.2 ล้านตัน พื้นที่ปลูกประมาณ 20.5 ล้านไร่
3. มาเลเซีย ผลิตได้ประมาณ 1.1 ล้านตัน พื้นที่ปลูก 8 ล้านไร่
4. เวียดนาม ผลิตได้ประมาณ 450,000 ตัน พื้นที่ปลูก 2.75 ไร่

สำหรับ ประเทศไทย ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกยางทั้งประเทศ ประมาณ 16.2 ล้านไร่โดยแบ่งเป็นแต่ละภาคดังนี้
1. ภาคใต้ 11 ล้านไร่
2. ภาคตะวันออก 1.9 ล้านไร่
3. ภาคอีสาน 2.7 ล้านไร่
4. ภาคเหนือ 6 แสนไร่

ชนิดของยางธรรมชาติที่ไทยส่งออกมี 4 ชนิด ได้แก่
1. ยางแผ่นรมควัน 38 %
2. ยางแท่ง 38 %
3. น้ำยางข้น 19 %
4. ยางชนิดอื่น ๆ 5 %
ส่วนประเทศมาเลเซียและ อินโดนีเซีย ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 ส่งออกเป็นยางแท่ง

ธาตุ อาหารที่จำเป็นสำหรับยางพารา
ในปริมาณ น้ำยาง 1 ตัน จะทำให้ยางพาราสูญเสียธาตุอาหารสำคัญ ได้แก่ ธาตุ N 20 กก.
ธาตุK 25 กก. ธาตุ P 5 กก. ธาตุ Mg 5 กก. ธาตุ Ca 4 กก. ธาตุ S 2 กก.
ฉะนั้น เราจึงจำเป็นต้องให้ธาตุอาหารกับต้นยางให้สมดุลกับธาตุอาหารที่เราต้องสูญ เสียไปกับน้ำยาง จึงสามารถทำให้เราเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานและต้นยางไม่ทรุดโทรมเร็ว ปัญหาอาการเปลือกแห้งก็จะลดลง ฉะนั้นเราต้องรู้หน้าที่และความสำคัญของธาตุอาหารที่มีต่อยางพารา ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้
1. ไนโตรเจน (N) เป็นส่วนประกอบสำคัญของกรดอมิโนโปรตีน ,นิวคลีโอไทและคลอโรฟิล ซึ่งสารประกอบเหล่านี้มีความสำคัญต่อกระบวนการเมตาโบลิซึมของพืชมีผลต่อการ เจริญเติบโตของพืชถ้ายางพาราขาดธาตุ N จะมีขนาดเล็กกว่าปกติ จำนวนใบน้อย ขนาดลำต้นเล็ก แคระแกรน สีผิวของเปลือกกร้านและแข็งกว่าต้นปกติทำให้กรีดยางได้ยากและให้น้ำยางน้อย ใบจะเหลือง ถ้าเป็นรุนแรงอาการจะปรากฏให้เห็นที่ฉัตรแรกของต้น แต่ถ้าต้นยางได้รับธาตุ N มากเกินไปก็จะทำให้ภูมิต้านทานโรคลดลงและโครงสร้างลำต้นจะอ่อนแอ
2. ฟอสฟอรัส (P) เป็นส่วนประกอบของกรดนิวคลีอิคและนิวคลีโอโปรตีน มีความสำคัญต่อการแบ่งเซลล์และการสร้างเซลล์ในพืชช่วยในการเจริญเติบโตของ ราก จำเป็นสำหรับการออก

ดอก ติดเมล็ด และการพัฒนาของเมล็ดหรือผล ลักษณะการขาดธาตุ P ลำต้นและใบจะเป็นสีม่วงทำให้การหายใจของพืชลดลง ฉะนั้นพลังงานที่จะได้นำไปใช้ในขบวนการต่างๆ ก็ลดลงด้วย ต้นยางก็จะชะงักการเจริญเติบโต ใบน้อยและให้น้ำยางน้อย
วิธีสังเกต ถ้า ต้นยางขาดธาตุ P ใต้ท้องใบเป็นสีบรอนล์ และสีม่วงปรากฏให้เห็นก่อน บริเวณหลังใบมีสีเหลืองน้ำตาล หลังจากนั้นใบจะแห้งลงมาเป็นสีน้ำตาลแดงมาจากส่วนปลาย ส่วนที่เป็นสีน้ำตาลนั้นจะหดตัวม้วนขึ้น ฉะนั้นถ้าดินเป็นกรดธาตุเหล็ก (Fe) และธาตุอลูมินั่มฟอสเฟต (AlPO5 ) สูงธาตุ P ก็จะถูกตรึง ซึ่งพืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
3. โพแทสเซียม (K) เป็นองค์ประกอบสำคัญของเอ็นไซม์ที่ช่วยในการสังเคราะห์และการสร้างโปรตีน , แป้ง ช่วยลำเลียงแป้งและน้ำตาล ควบคุมและรักษาความเป็นกรด – ด่าง ควบคุมการเปิด – ปิด ของปากใบ ช่วยให้ทุกส่วนของต้นพืชและระบบรากแข็งแรง ทนต่อโรคและแมลง
ดังนั้นธาตุ K จึงช่วยเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของผลผลิต การเพิ่มธาตุ K ก็จะทำให้จะทำให้ต้นยางดูดธาตุ P ได้เพิ่มขึ้น แต่จะทำให้ปริมาณธาตุแมกนีเซียมและแคลเซียม (Ca) ในยางลดลง ดังนั้นการให้ปุ๋ยกับต้นยางต้องคำนึงถึงความสมดุลของธาตุอาหารด้วย
ถ้า ต้นยางขาดธาตุ K ต้นแคระแกรน สีเขียวซีดปลายในแก่จะแห้ง หรือเป็นจุดสีน้ำตาลใบอ่อนพบจุดปะสีแดงหรือสีน้ำตาลระหว่างเส้นใบ ขอบใบเหลืองซีด การสร้างเปลือกงอกใหม่ช้าและให้น้ำยางลดลง
4. แคลเซียม (Ca) เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ มีบทบาทต่อการแบ่งเซลล์ ช่วยให้ผนังเซลล์แข็งแรง ส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากและการงอกของเมล็ดและมีบทบาทในการลดความเป็น พิษของธาตุ อลูมินัม (Al) ที่มีประมาณสูงในดินกรด ดังนั้นจึงมีผลในการเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุ P และ K ถ้าพืชขาดธาตุ Ca มีความสำคัญต่อการสร้างรากยางด้วย
5. แมกนีเซียม (Mg) มีหน้าที่สำคัญในกระบวนการใช้ก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) และเป็นส่วนประกอบของคลอโรฟิล สำหรับการสังเคราะห์แสง มีผลต่อการเจริญเติบโตและการเพิ่มผลผลิตของยางพาราและทำหน้าที่เคลื่อนย้าย ธาตุอาหารในใบยาง ถ้ายางขาดธาตุ Mg พื้นที่ขอบใบและพื้นที่ระหว่างเส้นใบจะมีสีเหลืองเห็นได้ชัด แต่เส้นใบยังเขียวอยู่ทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโตและมีผลต่อการให้น้ำ ยาง แต่ถ้าในน้ำยางมีธาตุ Mg ในปริมาณสูง จะทำให้น้ำยางไม่คงตัว น้ำยางบางส่วนจะจับตัวก่อนกำหนด ทำให้ได้ยางคุณภาพต่ำ
6. กำมะถัน (S) เป็นส่วนประกอบสำคัญของกรด อะมิโน กระบวนการสร้างโปรตีนและโคเอ็นไซม์ ถ้าต้นยางขาดธาตุ S จะมีผลต่อการเติบโตช้า ใบมีสีเหลืองหรือเขียวซีด ซึ่งมักเกิดกับใบอ่อน
7. เหล็ก (Fe) เป็นส่วนประกอบสำคัญของสารที่มีบทบาทในกระบวนการถ่ายถอดอิเลคตรอนของพืช คือ เป็นส่วนประกอบของเหล็กพอไฟริน (Ironporphyrin) และเฟอริดอกซิน (Feridorin ) ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับการสังเคราะห์คลอโรฟิล แต่มิได้เป็นส่วนประกอบของโมเลกุลของคลอฟิล ธาตุ Fe ละลายได้ดีในดินที่เป็นกรด ถ้าดินที่มีธาตุ P สูง จะทำให้ต้นยางขาดธาตุ Fe ได้เนื่องจากธาตุ Fe จะทำปฏิกิริยากับฟอสเฟต ทำให้ตกตะกอนไม่เป็นประโยชน์กับพืชและดินที่เป็นด่างก็มีโอกาสขาดธาตุ Fe เพราะธาตุ Fe ละลายไม่ดีในดินด่าง ถ้าดินขาดธาตุ Fe จะทำให้ใบเหลืองทั่วทั้งใบ
8. แมงกานีส (Mn) มีหน้าที่เร่งปฏิกิริยา ออกซิเดชั่น (Oxida Tion) และ รีดัคชั่น (Keduetion) ในกระบวนการการเคลื่อนย้าย อิเลคตรอน และกระตุ้นเอ็นไซม์ให้ทำงานปกติ ทำให้พืชหายใจได้ตามปกติกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์ที่เกี่ยวกับการใช้ ประโยชน์ของธาตุ N และการสร้างคลอโรฟิล ธาตุ Mn ละลายได้ดีในดินกรด ถ้าดินมีธาตุ P สูงจะทำให้ต้นยางขาดธาตุ Mn ได้เพราะธาตุ Mn จะทำปฏิกิริยากับธาตุ P ทำให้ตกตะกอนไม่เป็นประโยชน์ ต่อต้นยาง ถ้าต้นยางขาดธาตุ Mn ใบอ่อนบริเวณกลางใบเป็นสีเหลือง แต่เส้นใบยังเขียว และถ้าในดินมีธาตุ Mn มากจะทำให้พืชดูดธาตุ Fe ได้น้อยลง
9. สังกะสี (Zn) มีหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการเมตาโปลิซึมของออกซิน (Aurin) ซึ่งเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชและสร้างนิวคลีโอไทค์ สร้างคลอโรฟิลและสังเคราะห์โปรตีน ช่วยเสริมสร้างการใช้ประโยชน์ของธาตุ P และ N ในพืช ถ้าใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส (P) และธาตุ Ca มากเกินไปจะทำให้ต้นยางขาดธาตุ Zn ได้ ถ้าต้นยางขาดธาตุ Zn จะทำให้ไม่ต้านทานต่อโรคราแป้ง (Oidium) จะชะงักการเจริญเติบโต ใบมีขนาดเล็ก สีซีดถึงเหลือง แต่เส้นใบยางเขียว ใบยางเรียว ขอบหยัก ข้อสั้นใบรวมตัวเป็นกระจุกและจะทำให้ต้นยางตายจากยอดต้นยางชะงักการเจริญ เติบโตและน้ำยางลดลง
10. ทองแดง (Cu) มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้าง ลิกนิน (Ligmin) เป็นส่วนประกอบของเอ็นไซม์แอศโครบิค แอซิค ออกซิแดนส์ ( A & Corbieaeid Oxedase) ที่ช่วยในการเจริญเติบโต ถ้าต้นยางขาดธาตุ Cu ยอดอ่อน ใบอ่อน มีสีเหลืองและแห้งตาย การเกิดดอกผลจะลดลง แต่ถ้าในดิน
ที่มีสาร อินทรีย์มากเกินไป เช่น ดินพรุ ธาตุ Cu จะถูกตรึงพืชดูดไปใช้ไม่ได้ก็มีผลทำให้พืชตายได้ หรือถ้ามีในน้ำยางมากเกินไปก็จะทำให้ยางเสื่อมคุณภาพ คือ เหนียวเยื่มง่ายเมื่อทำเป็นยางเครป
11. โบรอน (B) มีหน้าที่สร้างเซลล์ การแบ่งเซลล์ การขยายตัวของเซลล์ชองต้นยางและเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ ทางสรีรวิทยาของพืช เช่น กระบวนการส่งให้เกิดพลังงาน ถ้าขาดธาตุ B ตาอ่อนที่เพิ่งเกิดจะแตกเป็นกระจุก ใบมีรูปร่างบิดเบี้ยว ถ้าขาดรุนแรงปลายยอดอาจตายได้ แต่ถ้ายางได้รับธาตุB จะทำให้พืชขาดธาตุ K ได้
12. โบลิบดินัม (Mo) มีหน้าที่สร้างโปรตีน ความเป็นประโยชน์ของธาตุ Mo จะสูงเมื่อความเป็นกรด – ด่าง สูงขึ้น มีความสำคัญในการตรึงไนเตรทรีดัคเตส ( Nitrate Reduetase) และไนโตรจีเนส (Nitrogenase) การปลูกพืชตระกูลถั่วในสวนยาง เป็นการเพิ่มธาตุ Mo ให้กับดิน มีผลทำให้ได้น้ำยางเพิ่มขึ้น จากการสร้างไนโตรเจนเมตาโมลิซึม
13. คลอรีน (Cl) มีหน้าที่ปรับประจุไฟฟ้าในเซลล์พืช ถ้าขาดธาตุ Cl ใบจะสีเหลืองและใบแห้งบริเวณปลายใบ รากจะไม่เจริญเติบโต พืชจึงเจริญเติบโตช้า

การเสื่อมของดิน
ดิน คือ วัตถุที่กำเนิดมาจาก หิน แร่ธาตุ , และซากพืช ซากสัตว์ ที่ผ่านการทับถมและย่อยสลาย ซึ่งต้องใช้เวลาล้านปี จึงกำเนิดมาเป็นดินให้เราสามารถปลูกต้นไม้ได้ แสดงให้เห็นว่าดินเป็นทรัพยากรที่มีวันเสื่อมสลายได้ ถ้าเราทำการเกษตรโดยขาดการอนุรักษ์ ซึ่งการเสื่อมของดินโดยทั่วไป มีอยู่ 3 ทาง
1. เสื่อมทางฟิสิกต์ ซึ่งเกิดขึ้นได้ 3 ลักษณะได้แก่
- เกิดจากชั้นดินอัดแน่น เช่น ดินดาน ดินที่เกิดจากปลวกทำรัง เป็นต้น
- เกิดจากชั้นหินแข็ง(แลตเทอไรด์) เช่น หินดาน ชั้นหินแข็งใต้ดิน
- เกิดจากกากร่อน ซึ่งเกิดได้ 2 ทาง คือ น้ำและลม
2. เสื่อมทางเคมี เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ
- ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง ซึ่งเกิดจากการปลูกพืชมานาน แต่ไม่มีการปรับปรุงดิน
- เกิดจากธาตุอาหารในดินไม่สมดุล ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะคือ
1. การเกิดสภาพเป็นกรดจัด หรือ ด่างจัด เช่น ยางพารามีความต้องการสภาพดินที่มีความเป็นกรด 4.5 – 5.5 จึงสามารถเติบโตได้ดี
2. เกิดจากการสะสมสารพิษในดิน เช่น มีการใช้สารเคมีในแปลงมากเกินไปก็มีผลทำให้ดินเสื่อมได้
3. เสื่อมทางชีวภาพ ซึ่งเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ
- อินทรียวัตถุในดินลดลง เช่น เราปลูกพืชแต่ละครั้งควรมีการเติมอินทรียวัตถุลงไปในดินด้วย เพื่อให้ปรับปรุงดินดีขึ้น
- สิ่งมีชีวิตในดินลดลง เช่น ถ้าเราปลูกข้าวแล้วเผาตอ ก็มีผลให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์กับดินตายไปด้วย มีผลทำให้สภาพดินเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น
เพื่อให้การใช้ดินเกิดประโยชน์ สูงสุด เราควรมีการใส่กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์กับดิน ซึ่งจุลลินทรีย์เหล่านี้สามารถเจริญเติบโตได้ตามธรรมชาติ ในที่นี้จะขอแบ่งไว้ 4 กลุ่ม คือ
1. จุลลินทรีย์ พวก Agotobaeter (อะโซโตบาคเตอร์) สามารถช่วยเพิ่มธาตุ N ด้วยการตรึงจากอากาศ แล้วแปรรูปให้พืชนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
2. จุลลินทรีย์ พวก Barkgolderia (บรูคลอเดอร์เรีย) สามารถละลาย ฟอสเฟค (P) ที่ถูกตรึงอยู่ในดินให้ออกมาเป็นประโยชน์ได้
3. จุลลินทรีย์ พวก Bacillus Megaterium (บาซิลคัล เมกาเตอร์เรี่ยม) สามารถละลายธาตุ K ที่อยู่ในรูปของแร่ดินเหนียวให้ออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืช
4. จุลลินทรีย์ พวก แบคทีเรีย บางชนิด สามารถสร้างฮอร์โมนที่สำคัญต่อพืช เช่น ออกซิเจน จิบเบอร์เรลลิน และไซโตไดดิน
ซึ่งจุลลินทรีย์ที่เป็น ประโยชน์เหล่านี้ ปัจจุบันหาได้ยากเย็น สามารถขอได้จากสำนักงานพัฒนาที่ดินทั่วไป คือ พ.ค. 12 เมื่อใส่ลงไปในดินก็สามารถเจริญเติบโตได้ตามธรรมชาติ ยกเว้นอย่าใช้ไฟเผาทำลายวัชพืช


( นายสันติพงศ์ แซ่ว่อง )
หัวหน้างานวิชาการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ
ที่มา http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=11528.0