วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

คุณภาพน้ำเพื่อการเพาะ เลี้ยงสัตว์น้ำ(Water Qualities for Aquaculture)

แหล่งน้ำและคุณภาพน้ำเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต สุขภาพ การดำรงชีพ การสืบพันธุ์และแพร่พันธุ์ของสัตว์น้ำ เนื่องจากสัตว์น้ำต้องอาศัยน้ำเป็นสื่อกลางในการหายใจ การหาอาหาร การรักษาสมดุลของร่างกาย กิจกรรมทางชีวเคมี การใช้อาหาร และการขับถ่าย ของเสีย ฉะนั้นน้ำจึงเปรียบเหมือนบ้านของสัตว์น้ำ หากคุณภาพน้ำที่เหมาะสมและดีแล้ว สัตว์น้ำก็จะเจริญเติบโต มีสุขภาพและมีคุณภาพที่ดี จึงสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูง เมื่อมีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่สามารถจัดการควบคุมคุณภาพน้ำได้ ก็จะช่วยให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประสบความสำเร็จได้ อย่างไรก็ตามคุณภาพน้ำที่ดี จะมีความสัมพันธ์กับชนิดและคุณภาพดิน แหล่งน้ำและคุณภาพน้ำ

ดินและคุณสมบัติของดิน
ในการเลี้ยง สัตว์น้ำในบ่อดิน ที่เหมาะสมควรเป็นดินเหนียวปนทราย มีเนื้อละเอียดมีสีดำที่มีส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุประมาณ 1.5-2 % แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของดิน สามารถเก็บกักน้ำได้ และมีสภาพเป็นกลางหรือเป็นด่างเล็กน้อย และมีแร่ธาตุอาหารที่เหมาะ เช่น มีไนโตเจน 0.1 % มีฟอสฟอรัส และโปรตัสเซียม ประมาณ 50 mg/kg เป็นต้น และอยู่ในรูปที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และเหมาะสมต่อการเกิดอาหารธรรมชาติในบ่อเช่น แพลงค์ตอน สัตว์หน้าดินหรือสาหร่าย และในดินไม่ควรมีสารพิษสะสม เช่น ปรอท ตะกั่ว หรือ แก็สพิษสะสมเช่น แอมโมเนีย (NH4) ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)
ผลของดินกรด ต่อสัตว์น้ำ
1. ต่อความเป็นกรดและด่างของน้ำ ดินเปรี้ยวจัดทำให้เกิดกรดกำมะถันซึงเป็นกรดแก่
และทำลายความเป็นด่างและ การรักษาสภาพสมดุลของน้ำ
2. ทำให้บ่อไม่ตอบสนองตอบต่อการใช้ปุ๋ย เนื่องจากความเป็นด่างต่ำ
3. ทำให้มีสารพิษเช่นโลหะหนักละลายในน้ำมากและเป็นพิษต่อปลา

การแก้ไข ดินกรดทำได้โดย
1. ระบายน้ำทิ้งเอาน้ำที่มีสภาพดีเข้าบ่อสลับกันหลายครั้ง
2. ใช้วัสดุปู ที่เกษตรกรนิยมใช้ทั่วไปเช่น
2.1 หินปู (CaCO3) และหินโดโลไมต์ซึงได้มาจากภูเขาและนำมาบดให้ละเอียด มีความบริสุทธิ์ประมาณ 75-90 %
2.2 ปูนขาว (Ca(OH)2 ;Mg(OH)2 เป็นปูนที่ได้จากการเผาหินปูนที่อุณหภูมิสูง มีปฏิกิริยารุนแรง มีความบริสุทธิ์ประมาณ 95%
2.3 ปูเผา (CaO; MgO) ได้จากการเผาหินปูนโดโลไมต์หรือเปลือกหอยที่อุณหภูมิสูง มีความบริสุทธิ์ประมาณ 85-98 %
2.4 ปูนมารล์หรือแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) เกิดจากหินปูนผุสลายตัว มีความบริสุทธิ์ประมาณ 50-90 %
ความต้อง การวัสดุปูนของดินกรด
ปริมาณ CaCO3 ที่บริสุทธิ์ที่ต้องใส่ในดินเพื่อยกระดับพีเอชให้เป็นกลาง เรียกว่าความต้องการปูน โดยเปรียบเทียบว่าถ้าปูนแต่ละชนิดหนัก 100 กรัม จะมีอำนาจการทำให้เป็นกลางเท่ากับ CaCO3 กี่กรัม เรียกว่า Lime equivalent หรือ Carbonate equivalent มีค่า CaCO3 =100; MgC3=119; CaO=179; MgO=248;Ca(OH)2=136; Mg(OH)2=172
ตัวอย่าง อัตราการใช้ปูนขาวในดินและระดับความเป็นกรดที่ต่างกัน
pH ดิน ดินเหนียว (กก./ไร่) ดินปนทราย (กก./ไร่) ดินทราย (กก./ไร่)
<4 640 320 200
5 240 160 80
ตัวอย่าง การคำนวณดินเหนียว pH 5 มีความต้องการปูนขาวเท่ากับ 240 กก./ไร่ เกษตรกรซื้อปูนที่มีปูนCa(OH)2 อยู่ 80 % และมี Mg(OH)2 อยู่ 15 % จะต้องใช้ปูนขาวชนิดนี้เท่าไร
อำนาจ การทำให้เป็นกลางของปูนขาวชนิดนี้ = (136x.8)+(172x.15)
= 108.8+25.8 = 134.6
ถ้าใช้ CaCO3 134.6 กก. ต้องใช้ปูนขาวชนิดนี้ = 100 กก./ไร่
ต้อง การ 240 กก.---------,,-------------- = 100x240/134.6=178.3 กก./ไร่

แหล่ง น้ำที่สำคัญ
1. แหล่งน้ำจากธรรมชาติ อาทิเช่น จากอ่างเก็บน้ำ หนอง บึง แม่น้ำ ลำคลอง หรือน้ำฝน แหล่งน้ำประเภทนี้หากในธรรมชาติปราศจากการปนเปื้อนหรือการทิ้งของเสียจาก บ้านเรือน หรือโรงงานอุตสาหกรรมจะเป็นแหล่งน้ำที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมต่อการเพาะ เลี้ยงมาก เนื่องจากต้นทุนต่ำ แต่ปัญหาที่พบปัจจุบันแหล่งน้ำประเภทนี้บางครั้งในฤดูแล้งน้ำจะขาดและมีความ ขุ่น อนุภาคดินและสารแขวนลอยสูง สำหรับในบางพื้นที่ความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำมักจะ มีการปนเปื้อนของเสียจากบ้านเรือน อุตสาหกรรม ดังนั้นบริเวณตอนล่างของ แม่น้ำ ลำคลองต่าง ๆ จะพบว่ามีคุณภาพไม่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยทั่วไป เพราะจะมีของเสียสะสมเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ตามระยะทางที่น้ำไหลผ่าน ปัจจุบันจึงอาจกล่าวได้ว่าน้ำบริเวณต้นน้ำลำธารยังคงมีสภาพใกล้เคียงกับสภาพ ดั้งเดิมในธรรมชาติมากที่สุด ดังนั้นหากจำเป็นจะต้องใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติจึงควรจะมีการตรวจสอบ คุณภาพของน้ำเสียก่อน หรือกักเก็บน้ำไว้แล้ว ทำการปรับปรุงคุณภาพน้ำให้เหมาะสมจึงนำไปใช้เลี้ยง สำหรับน้ำฝนนั้นไม่เหมาะสมกับการเลี้ยงปลา เนื่องจากเป็นน้ำอ่อนและอาจมีสภาพเป็นกรดอ่อน โดยเฉพาะน้ำฝนจากบริเวณอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงไม่ควรใช้น้ำฝนเลี้ยงปลาเพียงอย่างเดียวแต่จะต้องผสมกับน้ำอื่น ๆ โดยเฉพาะช่วงต้นฤดูฝนเป็นเวลานาน มีปลาบางชนิดวางไข่ เช่น ปลาตะเพียน ปลาเฉา และปลาดุกรัสเซีย (Breder and Rosen, 1966)

2. น้ำบาดาล น้ำบาดาลโดยทั่วไปจะไม่มีสารพิษปะปนมาเหมือนน้ำในแม่น้ำลำคลอง เนื่องจากผ่านการกรองตามธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ตามน้ำบาดาลบางแห่งอาจมีคุณภาพไม่เหมาะสม
โดยเกิดจากลักษณะ ของชั้นดินในบริเวณดังกล่าว ลักษณะที่สำคัญของน้ำบาดาล คือ มีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่ต่ำ และมีความกระด้างค่อนข้างสูง หรือบางแห่งจะมีโลหะบางชนิด เช่น เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) หรือแมงกานีส (Mg) ปะปนมาด้วยในปริมาณมาก ดังนั้นในการใช้น้ำบาดาลจะต้องนำน้ำมาพักไว้ในบ่อก่อนสักระยะหนึ่ง แล้วทำการเติมอากาศเพื่อให้โลหะเหล่านี้ตกตะกอน หรือผ่านเครื่องกรองน้ำเพื่อลดความกระด้างลง เป็นต้น ถ้าจะให้ดีควรทำการตรวจสอบคุณภาพ เสียก่อน จะเห็นได้ว่าการใช้น้ำบาดาลจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นด้วย เช่น ค่าไฟฟ้าในการสูบน้ำ การพักน้ำและการกรองน้ำ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้มีผู้นิยมใช้น้ำบาดาลในการเลี้ยงปลาเพิ่มมากขึ้น

3. น้ำประปา สำหรับการเพาะเลี้ยงตามบ้านเรือนที่อาศัยในเมืองต่าง ๆ จะพบว่า น้ำประปาเป็นแหล่งน้ำที่มีความสะดวกมากที่สุด ปัญหาที่สำคัญของการใช้น้ำประปาก็คือ ปริมาณคลอรีนที่มีอยู่ในน้ำ ซึ่งคลอรีนเป็นสารพิษที่สามารถทำอันตรายต่อปลาได้ในระดับต่ำ ๆ จึงต้องกำจัดออกให้หมด การกำจัดคลอรีนจากน้ำประปาทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การพักน้ำประปาในถังแล้วให้อากาศตลอดเวลา หรือตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน ปริมาณคลอรีนในน้ำประปาจะลดลงจนอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อปลา ส่วนวิธีอื่น ๆ ที่กำจัดได้รวดเร็วคือ การใช้สารเคมี เช่น โซเดียมไทโอซัลเฟต (Sodium Thiosulfate-Na2S2O3) โดยใช้ในประมาณไม่เกิน 3-4 กรัม/น้ำประปา 1 ตัน (1,000 ลิตร) ซึ่งปกติน้ำประปาจะมีคลอรีนอยู่ประมาณ 0.2-1.0 มิลลิกรัม/ลิตร อีกวิธีหนึ่งที่สามารถกำจัดคลอรีนในน้ำได้ คือ การใช้แสงอัลตราไวโอเลต (UV-Lamp) ซึ่งในบางแห่งมีการใช้กันอยู่และสามารถทำลายเชื้อโรคหรือบัคเตรีที่ปะปนมา กับน้ำได้ด้วย

คุณภาพน้ำที่เหมาะสม
การตรวจสอบคุณภาพน้ำ สามารถเก็บตัวอย่างของน้ำมาตรวจวิเคราะห์ หรือตรวจวิเคราะห์จากน้ำในบ่อโดยตรงขึ้นอยู่กับวิธีการและลักษณะเฉพาะของตัว เช่น

1. สีของน้ำ
การตรวจสีของน้ำในบางครั้งมักนิยม ปฏิบัติกันเนื่องจากสามารถแสดงให้เห็นอย่างคร่าว ๆ เกี่ยวกับกำลังผลิต (Productivity) สภาพแวดล้อมและสารแขวนลอยที่มีอยู่ในแหล่งน้ำนั้น ๆ สีของน้ำเกิดจากการสะท้อนของแสง ซึ่งจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.1 สีปรากฏ เป็นสีของน้ำที่ปรากฏให้เห็นแก่สายตาเป็นส่วนใหญ่ โดยเกิดจากการสะท้อนของสารแขวนลอยในน้ำ พื้นท้องน้ำ และจากท้องฟ้า
1.2 สีจริง เป็นสีของน้ำเกิดจากสารละลายชนิดต่าง ๆ โดยอาจเป็นสารอินทรีย์ เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และธาตุอาหาร หรือสารอนินทรีย์ เช่น แร่ธาตุต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดสีของน้ำต่าง ๆ กัน ขึ้นอยู่กับลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะตัวของสารดังกล่าว
โดยปกติน้ำในแหล่ง น้ำธรรมชาติทั่วไป อาจจะมีสีแตกต่างไปตามสภาพแวดล้อม ชนิด ปริมาณ และความเข้มข้นของสารละลาย และสารแขวนลอย รวมทั้งคุณภาพของแสง ตัวอย่าง เช่น แหล่งน้ำที่มีหินปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ปะปนอยู่มากจะมีสีเขียว แหล่งน้ำที่มีกำมะถันอยู่มาก อาจจะมีสีเขียวอมเหลืองหรือมีสีแดง หากมีเหล็กออกไซต์ปะปนอยู่ พวกสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและสารอินทรีย์ก็สามารถทำให้ปรากฏเป็นสีต่าง ๆ กันตั้งแต่สีเหลืองจนถึงสีเขียว เช่น ไดอะตอม (Diatom) ทำให้น้ำมีสีเหลืองหรือน้ำตาล สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว (Blue-Green Algae) ทำให้มีสีเขียวเข้ม (Dark Green) ซึ่งจะเหมาะสมกับสัตว์น้ำที่ชอบกินพืชเป็นหลัก, แพลงค์ตอนสัตว์ (Zooplankton) มักจะทำให้มีสีแดง ฮิวมัส หรือ Humic Acid จะทำให้เป็นสีน้ำตาลอมเหลือง ซึ่งเหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่นิยมกินเนื้อ

2. ความขุ่นและความโปร่งใส (Turbidity and Transparency)
ความขุ่นหรือ ความโปร่งใสของน้ำเป็นตัวที่กำหนดกำลังผลิตของแหล่งน้ำได้ เนื่องจากความขุ่นของน้ำเกิดจากอนุภาคของสารแขวนลอยกับอนุภาคดิน สารอินทรีย์ อนินทรีย์ แร่ธาตุต่าง ๆ สิ่งที่มีชีวิตขนาดเล็ก เช่น แพลงค์ตอน แบคทีเรีย เป็นตัวที่ควบคุมให้ปริมาณแสงอาทิตย์ส่องผ่านลงสู่แหล่งน้ำนอกจากนี้ความ ขุ่นของน้ำจะมีผลต่อการหายใจของสัตว์น้ำ เนื่องจากอนุภาคสารแขวนลอย มีโอกาสอุดตามช่องเหงือก ทำให้ประสิทธิภาพการหายใจลดลง ผลต่ออัตราการ เจริญเติบโต การสร้างเซลล์สืบพันธุ์และอัตราการฟักไข่ลดลง ความขุ่นทำให้น้ำผิวบนดูดซับความร้อนได้ดีทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น
ค่าของ ความขุ่นนิยมแสดงในรูปของหน่วย (Unit) ซึ่งหมายถึงระดับความลึกของน้ำที่สามารถมองเห็นแสงสว่างจากแสงเทียนมาตรฐาน น้ำที่ใสจะมีค่าความขุ่นไม่เกิน 25 หน่วย ส่วน น้ำขุ่นปานกลางจะมีค่าความขุ่นระหว่าง 25-100 หน่วย และน้ำขุ่นมากจะมีค่าความขุ่นเกิน 100 หน่วยขึ้นไป ความขุ่นที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำจนถึงแก่ชีวิตจะต้องมีมากกว่า 20,000 หน่วยขึ้นไป
สำหรับปริมาณสารแขวนลอย นิยมวัดเป็นน้ำหนักในรูปของมิลลิกรัมต่อลิตร (mg/L) แหล่งน้ำที่ให้ผลผลิตทางการประมงที่ดี ควรจะมีค่าปริมาณสารแขวนลอยอยู่ในช่วงระหว่าง 25-80 มิลลิกรัมต่อลิตร แต่ถ้าอยู่ในช่วงระหว่าง 80-400 มิลลิกรัมต่อลิตรจะให้ผลผลิตลดลงและถ้ามากเกิน 400 มิลลิกรัมต่อลิตรขึ้น จะเลี้ยงปลาไม่ได้ผล
ความโปร่งใส (Transparency) วัดเป็นระยะความลึกของน้ำที่สามารถมองเห็นวัตถุโดยเป็นแผ่นวงกลม (Secchi Disc) (รูปที่ 3.1) ที่หย่อนลงไปในน้ำจนถึงความลึกของน้ำที่สามารถมองเห็นแผ่นวัตถุดังกล่าว หากแหล่งน้ำใดความโปร่งใสอยู่ระหว่าง 30-60 เซนติเมตร ทั้งนี้ต้องดูสีของน้ำประกอบด้วย นับว่ามีความเหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ หากมีค่าต่ำกว่า 30 เซนติเมตร แสดงว่าน้ำมีความขุ่นมากเกินไป หรือมีปริมาณแพลงค์ตอนมากเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการขาดออกซิเจนได้ แต่ถ้าความโปร่งใสมีค่าสูงกว่า 60 เซนติเมตรขึ้นไป ก็แสดงว่าแหล่งน้ำนั้นไม่อุดมสมบูรณ์มีอาหารธรรมชาติอยู่น้อย



รูปที่ 3.1 แผ่นวงกลม (Secchi Disc) ใช้วัดความขุ่นใสของน้ำ (โกสินทร์, 2544)


3. อุณหภูมิ (Temperature) และช่วงแสง (Photoperiod)
อุณหภูมิของน้ำเป็นปัจจัย ที่สำคัญทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำรงชีพ การเจริญเติบโต การเจริญพันธุ์ให้ดีขึ้น (Stacey, 1983) ในปลาทองพบว่าถ้าอุณหภูมิน้ำต่ำกว่า 14 ํ C แม้มีไข่แต่จะไม่วาง จะวางไข่เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นที่ 20 ํ C (Yamamoto และ Yamazaki, 1966) ปกติอุณหภูมิของน้ำตามธรรมชาติจะผันแปรกับอุณหภูมิอากาศ และเส้น Latitude กล่าวคือ อุณหภูมิจะสูงเมื่ออยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร และจะต่ำเมื่อใกล้ขั้วโลก สัตว์น้ำเป็นพวกสัตว์เลือดเย็น (Poikilotherma) จะปรับอุณหภูมิร่างกายตามอุณหภูมิน้ำจะทนได้ช่วงอุณหภูมิที่ต่ำหากอุณหภูมิ สูงและช่วงแสงมากกิจกรรมต่าง ๆ ในการดำรงชีพจะสูงตามและลดลงเมื่ออุณหภูมิต่ำตามกฎของ Van Hoff’s Law ขบวนการ เมตาโบลิซึมจะเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า เมื่ออุณหภูมิน้ำเพิ่มขึ้น 10 ํC ขบวนการที่สำคัญได้แก่ การหายใจ การว่ายน้ำ การกินอาหาร การย่อยอาหารและขับถ่าย ปกติอุณหภูมิตัวปลาจะต่างจากอุณหภูมิของน้ำ 0.5-1 ํC เหงือกเป็นอวัยวะสำคัญที่รักษาอุณหภูมิ ปลาขนาดเล็กชนิดเดียวกันสามารถปรับและรักษาอุณหภูมิได้ดีกว่าปลาขนาดใหญ่ เนื่องจากสัดส่วนปริมาตรของเหงือกกับร่างกายมีมากว่า เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็วจะเกิดอันตรายต่อ สัตว์น้ำ ทำให้ร่างกายอ่อนแอหรือช็อกตายได้ เช่น การขนส่งสัตว์น้ำในขณะที่อุณหภูมิสูง อุณหภูมิยังมีอิทธิพลต่อการควบคุมการถ่ายน้ำแร่ธาตุในร่างกาย ความหนาแน่นของน้ำ การละลายของออกซิเจนในแหล่งน้ำลดลง เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น การแบ่งชั้นของน้ำตามอุณหภูมิในแหล่งน้ำลึกมากกว่า 2.5 เมตร (Thermal Stratification) การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิยังมีผลต่อการเจริญเติบโตของ พืชน้ำ แพลงค์ตอน ซึ่งเกี่ยวข้องกับกำลังผลิตเบื้องต้นของแหล่งน้ำ เช่น ไดอะตอม ของแหล่งน้ำที่อุณหภูมิต่ำ 15-25 ํC สาหร่ายสีเขียวชอบที่อุณหภูมิ 25-35 ํC สาหร่ายน้ำเงินแกมเขียว ที่อุณหภูมิมากกว่า 35 ํC ซึ่งไม่เป็นประโยชน์บางครั้งทำให้เกิดเน่าเสียเป็นพิษแก่สัตว์น้ำ อุณหภูมิสูงเกินไป ทำให้สารพิษประเภทต่าง ๆ เช่น ยากำจัดศัตรูพืชและแมลง มีพิษมากยิ่งขึ้น

4. น้ำใหม่และน้ำท่วม
ปัจจัยเหล่านี้มี ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการกระตุ้นการวางไข่ของปลาเขตร้อน โดยมีอิทธิพลมากกว่าช่วงแสงและอุณหภูมิ (Stacey, 1983) ปลาเขตร้อนแทบทุกชนิดจะวางไข่ในฤดูน้ำหลากหรือที่เรียกว่า ฤดูน้ำแดง โดยเมื่อถึงหน้าฝน ระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองจะสูงขึ้นจนล้นตลิ่งไหลเอ่อท่วมท้องนา หนองน้ำ ลำธารต่าง ๆ จนติดต่อกันหมด พ่อแม่ปลาที่มีความพร้อมที่จะผสมพันธุ์ก็พากันว่ายออกกจากห้วย หนอง คลอง บึง ไปวางไข่ตามท้องนาที่มีน้ำท่วมบ้างก็วางไข่ในแหล่งน้ำที่อาศัยอยู่เดิม เป็นไปได้ว่าน้ำเอ่อท่วมลูกปลาที่เกิดมาจะสามารถหาอาหารได้อุดมสมบูรณ์ น้ำใหม่มีคุณสมบัติบางประการดีกว่าเดิม เช่น ออกซิเจนละลายอยู่ในปริมาณสูง อุณหภูมิสูง หรือเป็นเพราะแร่ธาตุในดินที่ถูกพัดมากับน้ำ นอกจากนั้นยังเกิดจาก น้ำที่ท่วมผิวดินที่แห้ง ทำให้เกิดสารเพ็ตตริชอร์ (Pertrishor) ซึ่งสามารถกระตุ้นการวางไข่ของปลาเช่นเดียวกัน

5. กระแสน้ำ
นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่ากระแสน้ำสามารถกระตุ้นการวางไข่ ของปลาบางชนิดได้ ทั้งนี้เนื่องจากการสังเกตในธรรมชาติพบว่าปลาบางชนิดต้องการไข่ที่มีน้ำไหล แรงเป็นพิเศษ เช่น ปลายี่สก Probarbus Julienni วางไข่ในบริเวณที่น้ำไหลแรงประมาณ 1.3 เมตร/วินาที

6. น้ำขึ้นน้ำลงและข้างขึ้นข้างแรม
ปัจจัยทั้งสองนี้มีความเกี่ยวข้อง กันอย่างใกล้ชิด ถึงแม้ยังไม่มีการทดลองยืนยันในเรื่องนี้ แต่ก็มีปรากฏการณ์ที่ทำให้เชื่อได้ว่าปัจจัยทั้งสองชนิดนี้ มีอิทธิพลต่อการวางไข่ของปลาบางชนิดจริง เช่น ตัวอย่างในปลากระพงขาว Lates calcariter นักวิชาการพบว่าปลากระพงขาวบริเวณทะเลสาบสงขลาวางไข่ในเดือนมิถุนายนถึง กันยายน โดยจะวางไข่ 2 ช่วง คือ ช่วงข้างขึ้น 4 ค่ำ จนถึงข้างแรม 6 ค่ำ และจากข้างแรม 14 ค่ำ จนถึงข้างขึ้น 6 ค่ำ ในช่วงนี้ปลาจะวางไข่ในเวลาที่ น้ำลงต่ำสุดทุกครั้ง ซึ่งผู้ศึกษาให้ข้อสันนิษฐานว่าการที่ปลาเลือกวางไข่เข้าไปสู่ทะเลสาบประมาณ 10 ชั่วโมง หลังจากนั้นน้ำจะลดระดับลง และพัดพาเอาไข่ที่กำลังจะฟักเป็นตัวอ่อนออกมาสู่ ปากร่องน้ำ ซึ่งเมื่อลูกปลาออกจากไข่ก็จะกระจายไปหากินอยู่ตามป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ ออกมาสู่ปากร่องน้ำ ซึ่งเมื่อลูกปลาออกจากไข่ก็จะกระจายไปหากินอยู่ตามป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ ต่อไป (กองประมงน้ำกร่อย, 2523) อย่างไรก็ตาม Stacey (1983) ได้ให้ความเห็นว่าการวางไข่ตามข้างขึ้นข้างแรมนี้น่าจะเกี่ยวกับวงจรการ เจริญของไข่มากกว่าจะเป็นการกระตุ้นของสิ่งแวดล้อม หมายความว่าวงจรการเจริญของไข่ปลาชนิดนั้น ๆ อยู่ในช่วงเวลาที่ไข่แก่พอดีในช่วงข้างขึ้นหรือข้างแรมพอดีปลาจึงวางไข่ โดยข้างขึ้นข้างแรมไม่ได้มีอิทธิพลในการกระตุ้นแต่อย่างใด

7. ปริมาณออกซิเจนในน้ำ (Dissolved Oxygen)

ออกซิเจนเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่มีความสำคัญมากในการดำรงชีพ เนื่องจากต้องใช้ออกซิเจนในขบวนการหายใจเพื่อการเจริญเติบโต ความสามารถละลายน้ำของออกซิเจนขึ้นกับความดันอากาศ อุณหภูมิ ปริมาณเกลือแร่ เช่นที่ อุณหภูมิศูนย์องศา การละลายของออกซิเจนอยู่ระหว่าง 114 มก./ลิตร และที่ 6-9 มก./ลิตร ที่ 35 ํC ที่ความดัน 1 บรรยากาศ เมื่ออุณหภูมิสูงทำให้เกิดกิจกรรมใช้ออกซิเจนมาก ทำให้ปริมาณลดลงอาจเกิดการขาดออกซิเจนได้ ด้านตรงข้ามการเกิดออกซิเจนละลายเกิดจุดอิ่มตัว เนื่องจากการผลิตออกซิเจนมากเกินไป จากขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชสีเขียว ก็เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำเช่นกัน เช่น ทำให้เกิดฟองอากาศในเลือด ปกติแล้วค่าออกซิเจนในน้ำที่เหมาะสมกับการดำรงชีพอยู่ระหว่าง 5-8 มก./ลิตร ปริมาณออกซิเจนในน้ำมีการเปลี่ยนแปลงในรอบวัน (รูปที่ 3.2)
7.1 แหล่งที่มาของออกซิเจนในน้ำ
ก. จากบรรยากาศโดยตรง เกิดแรงดันบรรยากาศมีมากกว่า กระแสลมพัดพาสู่ผิวน้ำ
ข. จากขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชน้ำ โดยเฉพาะแพลงค์ตอนพืช แหล่งให้ออกซิเจนมาก
ค. เกิดจากขบวนการเคมีของแร่ธาตุอื่น ๆ ในน้ำ
7.2 สาเหตุที่ทำให้ออกซิเจนลดลงในน้ำ
ก. จากขบวนการหายใจของสิ่งมีชีวิต
ข. จากการเน่าสลายของอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ
ค. จากขบวนการเคมีของแร่ธาตุสารประกอบต่าง ๆ
ง. เกิดจากการละลายผสมกับน้ำที่มีออกซิเจนต่ำกว่า



รูปที่ 3.2 ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณออกซิเจนละลายน้ำในรอบหนึ่งวัน (Boyd, 1981)

ปริมาณ ออกซิเจนละลายในน้ำมีความสัมพันธ์อยู่กับค่า Biochemical Oxygen Demand (BOD) กล่าวคือถ้าในน้ำมีอินทรีย์วัตถุมาก แบคทีเรียต้องใช้ออกซิเจนมากในการย่อยสลาย ทำให้น้ำมีโอกาสขาดออกซิเจน แต่ถ้ามีอินทรีย์วัตถุน้อย แบคทีเรียก็ใช้ออกซิเจนน้อย ปกติในบ่อปลาควรมีค่า BOD ไม่เกิน 0.5 mg/ลิตร /ชั่วโมง โดยทั่วไปปลาไม่สามารถทนอยู่ในน้ำที่มีค่า DO ต่ำกว่า 1 มก./ลิตร เป็นเวลานาน ค่า DO ที่สามารถทำให้ปลาตายได้มีค่าระหว่าง 0.1-2.4 มก./ลิตร ปริมาณออกซิเจนในน้ำโดยทั่วไปต้องควบคุมให้ได้ต่ำกว่า 3 มก./ลิตร และทำให้อัตราการฟักของไข่ต่ำ เจริญเติบโตช้า อ่อนแอ ติดเชื้อโรคได้ง่าย การแก้ไขการขาดออกซิเจน เช่น การควบคุมปริมาณ แพลงค์ตอนโดยการวัดความโปร่งใส การระบายน้ำและเติมน้ำใหม่ การให้อากาศซึ่งนิยมมากในการเลี้ยงกุ้ง เนื่องจากกุ้งเป็นสัตว์น้ำที่ส่วนใหญ่แล้วอาศัยอยู่ตามพื้นบ่อ เป็นบริเวณที่มักเกิดการขาดออกซิเจน และการสังเกตว่าสัตว์น้ำมีปริมาณออกซิเจนในน้ำปัจจุบันทำได้ 2 วิธี คือ กี่ไตเตรท (Titrate) และการใช้เครื่องวัดออกซิเจน (Oxygen Meter) ซึ่งค่อนข้างสะดวกและรวดเร็ว

8. ค่าเป็นกรด-ด่าง (pH)
ใน แหล่งน้ำค่าเป็นกรด-ด่าง ที่เหมาะสมควรมีค่าระหว่าง 6.5-8 น้ำเป็นกรดจะทำให้น้ำเชื้ออ่อนแอ สัตว์น้ำไม่สามารถเจริญได้ตามปกติในสภาพที่ไม่เหมาะสม มีฤทธิ์เป็นกรดเมื่อมีค่าน้อยกว่า 7 ถ้ามากกว่า 7-14 มีฤทธิ์เป็นด่างเมื่อมีค่ามาก การวัด pH ของน้ำเป็นการวัดปริมาณความเข้มข้นของไฮโดรเจนอิออน (H+)
pH = log 1/(H+)ในน้ำกลั่นบริสุทธิ์มี H+ = 0.000,000,1 mole/ลิตร
มีค่า pH = log x 1/0.000,000,1 = 7 ค่า H+ เพิ่มขึ้นทำให้มีค่า pH ต่ำ ซึ่งจะตรงข้ามกับค่าไฮครอกไซด์อิออน (OH-)
pH ของแหล่งน้ำทั่วไปมีค่า 5-9 ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและภูมิประเทศ และจะผันแปรตาม pH ของดิน อิทธิพลของจุลินทรีย์และแพลงค์ตอนพืชก็สามารถทำให้ pH เปลี่ยนแปลง pH มีความสำคัญต่อการใช้ธาตุอาหารของสัตว์น้ำ พืชน้ำ ใช้ได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับ pH ในน้ำ ถ้า pH ต่ำกว่า 4.5 หรือสูงกว่า 11 ทำให้สัตว์น้ำไม่สามารถดำรงชีวิตหรือเจริญเติบโตได้ pH ระดับสูงทำให้แอมโมเนียมีค่ามากขึ้น ปกติแล้วในรอบวันค่า pH จะสูงขึ้นเรื่อยจนถึงช่วงบ่าย และลดลงในเวลากลางคืน การปรับค่า pH ของน้ำจากความเป็นกรดให้เป็นด่าง โดยมากใช้ปูนขาวที่นิยมมี 3 วิธี CaCO3 , Ca(OH)2 และ CaO ปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของค่า pH และคุณภาพดิน ซึ่งปฏิกิริยาเคมี
CaCO3 + 2H+ ? Ca2+ + H2O + CO2
Ca(OH)2 + 2H+ ? Ca2+ + 2H2O
CaO + 2H+ ? Ca2+ + H2O
การวัดค่า pH ที่นิยมใช้สะดวก แต่ไม่ค่อยแน่นอน การใช้กระดาษลิสมัสถ้าน้ำเป็นกรดกระดาษจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ถ้าน้ำเป็นด่างจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง หรือการใช้ pH Meter ซึ่งจะถูกต้องและสะดวกกว่า

9. ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ความเป็นด่าง (Alkalinity) และความเป็นกรด (Acidity)

เนื่องจาก ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ความเป็นด่าง และความเป็นกรด จะมีความสัมพันธ์กันและมีบทบาทต่อขบวนการหายใจของสัตว์น้ำและความอุดม สมบูรณ์ของแหล่งน้ำ กล่าวคือ หากสภาพน้ำมีความเป็นกลางเป็นด่างเล็กน้อย โอกาสที่สัตว์น้ำหรือแพลงค์ตอนพืช พืชน้ำ จะใช้ธาตุอาหารได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การย่อยสลายของแบคทีเรีย สารอินทรีย์ ก็ดีขึ้นคาร์บอนไดออกไซด์อิสระ (CO2) มีผลทำให้ระบบการหายใจของสัตว์น้ำผิดปกติ คาร์บอนไดออกไซด์มากทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลง แม้ว่าในน้ำมีออกซิเจนเพียงพอ เช่น ถ้าในน้ำมีคาร์บอนไดออกไซด์มาก 60 มก./ลิตร ทำให้ปลาหลายชนิดไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนและตายได้ ค่าคาร์บอนไดออกไซด์ที่เหมาะสมในน้ำควรมีค่าไม่เกิน 5 มก./ลิตร ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในรอบวันจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณออกซิเจน กล่าวคือ ในเวลากลางวัน จะมีน้อยมากและมีมากในเวลากลางคืน และเป็นด่างเล็กน้อยในเวลากลางวัน (ไมตรีและจารุวรรณ, 2528)
คาร์บอน ไดออกไซด์มีความสำคัญต่อแหล่งน้ำมาก เพราะเป็นสารประกอบที่พืชใช้ในการสังเคราะห์แสง เป็นตัวปรับอัตราส่วนระหว่างออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์ในสัตว์ซึ่งทำให้ สัตว์ดำรงชีวิตอยู่ได้ คาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวการที่ทำให้เกิด Chemical Buffering นอกจากนี้คาร์บอนไดออกไซด์ มีธาตุคาร์บอน C เป็นธาตุที่มี Electron 4 ตัว อยู่ในวงนอกสุดทำให้มี Bonding Capacity สูง เช่นสามารถที่จะเป็นส่วนต่อโครงสร้างของโมเลกุลของอินทรีย์สารได้เป็นอย่าง ดี เช่น พวก Cellulose และไขมัน
คาร์บอนไดออกไซด์เป็นสารประกอบที่มีความ สามารถในการละลายสูงมาก ความสามารถในการละลายของคาร์บอนไดออกไซด์แปรผันเป็นสัดส่วนตรงข้ามกับ อุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิสูงละลายได้น้อย แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำก็ละลายได้มาก เมื่อเปรียบเทียบความสามารถยกตัวอย่างเช่น ในอากาศมีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ประมาณ 0.03% โดยปริมาตร ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับออกซิเจนซึ่งมีอยู่ประมาณ 21% โดยปริมาตร แต่ในน้ำมีอุณหภูมิ 20 ํC ความดัน 760 มิลลิเมตรปรอท และมีออกซิเจนละลายอยู่ประมาณ 6 มิลลิกรัม/ลิตร จะมีคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่ถึง 4 มิลลิกรัม/ลิตร ถ้าคำนวณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกเก็บไว้ในพืชน้ำ และในสัตว์บนผิวโลกแล้ว จะเห็นว่าจำนวนมากกว่าที่มีอยู่ในอากาศ (เปี่ยมศักดิ์, 2525)
คาร์บอน ไดออกไซด์ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติมีที่มาหลายแหล่งด้วยกัน เช่น จากการหายใจของพืชและสัตว์ การย่อยสลายซากพืชและสัตว์โดยแบคทีเรียก็ให้คาร์บอนไดออกไซด์แก่น้ำใต้ดินมี ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่มาก ทั้งนี้เพราะมีการย่อยสลายอินทรีย์สารในชั้นใต้ดิน ปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารประกอบพวกคาร์บอเนตที่อยู่ในน้ำหรือดินกับกรดก็จะ ให้ผลลัพธ์เป็นคาร์บอนไดออกไซด์นอกจากนี้การที่มีฝนตกลงมา
ยังแหล่งน้ำก็ ยังนำคาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายในเม็ดฝนลงมาด้วย เมื่อฝนตกลงมายังพื้นดิน น้ำไหลซึมไปในดิน คาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากการย่อยสลายของซากพืชและสัตว์จะทำปฏิกิริยากับน้ำ ดังสมการ
CO2 + H2O ===== H2CO3
ได้ Carbonic Acid ซึ่งเป็นกรดอ่อน เมื่อไหลไปถูกกับส่วนของดินหรือลงสู่แหล่งน้ำที่มีหินปูนก็จะทำให้ปฏิกิริยา เคมีละลายหินปูนเหล่านั้นให้อยู่ในรูปของ Ca(HCO3)2 หรือ Calcium Bicarbonate ซึ่งจะคงอยู่สภาพอยู่รวมกับ CO2 จำนวนหนึ่งซึ่งอยู่ในรูป H2CO3
H2CO3 ที่ถูกสร้างขึ้นมาอาจจะแตกตัวได้ HCO3- และ CO32- ดังสมการ
CO2 + H2O === H2CO3 === H+ + HCO3- === H+ + CO32-
ฉะนั้น CO2 ที่ลงสู่แหล่งน้ำจะวางตัวอยู่ได้สามรูปด้วยกัน คือ
1. CO2 และ H2CO3 เรียกว่า Free CO2
2. H2CO3- (Bicarbonate) เรียกว่า Half Bound CO2
3. CO32- (Carbonate) เรียกว่า Bound CO2
ที่เราเรียก HCO3 ว่าเป็น Half Bound CO2 เพราะว่าเราสามารถที่จะไล่ HCO3- ออกไป จากน้ำโดยการให้ความร้อนแก่น้ำ และการที่เราเรียก CO32- ว่าเป็น Bound CO2 ก็เพราะว่าตามปกติมันจะรวมกับธาตุที่มีประจุบวกเช่น Ca++ และ Mg ++ แล้วตกตะกอน
ที่ pH = 7 : 20% ของ CO2 จะอยู่ในรูป CO2 + H2CO3
80% ของ CO2 จะอยู่ในรูป HCO3-
ที่ pH = 5 : CO2 เกือบทั้งหมดจะอยู่ในรูป Undissociated H2CO3
ที่ pH = 8.5:เกือบทั้งหมดของ CO2 จะอยู่ในรูป HCO3-
ที่ pH = 10 : CO2 ประมาณ 24 % จะอยู่ในรูป CO3= ที่เหลือเป็น HCO3-
ความสำพันธ์ระหว่าง pH กับปริมาณ CO2 ทั้งในสามรูปสามารถแสดงเป็นรูปความสัมพันธ์ได้ตามรูปที่ 3.3



รูปที่ 3.3 การรักษาสภาพความเป็นกรด ด่าง ของน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ (Boyd, 1981)

Chemical Buffering คือขบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของแหล่งน้ำเพื่อการปรับ pH ของน้ำให้อยู่ในสภาวะที่เป็นกลางอยู่เสมอ ขบวนการนี้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงระหว่าง CO2 ที่มีอยู่ ในน้ำทั้งสามรูปซึ่งจะต้องมีธาตุแคลเซียมและแมกนีเซียมมาเกี่ยวข้องด้วย ดังที่กล่าวมาแล้วเมื่อตอนต้นว่าเมื่อมี H2CO3 ลงไปในแหล่งน้ำหรือเกิดขึ้นเองในแหล่งน้ำแล้วจะเกิดปฏิกิริยากับCaCO3 กลายเป็น Ca(HCO3)2 ซึ่งอยู่ในรูปของของเหลวและต้องมี CO2 จำนวนหนึ่งรวมอยู่ด้วยเสมอ สภาพแบบนี้จะทำให้มี pH ใกล้ 7 หรือมากกว่า 7 เล็กน้อย เป็นสภาพเป็นกลาง CO2 ที่รวมอยู่ด้วยนี้เราเรียกว่า Equilibrium CO2 ในตอนกลางวันการสังเคราะห์แสงโดยพืช ฉะนั้น Equilibrium CO2 จะถูกนำไปใช้และจะลดลงอย่างมากในตอนบ่าย pH ของน้ำจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่น อาจจะเพิ่มจาก 7.2 เป็น 8 หรือ 9 เมื่อถึงขั้นนี้ Ca(HCO3)2 จะแตกตัวออก
Ca(HCO3)2 ? CaCO3 + CO2 + H2O
?
ตกตะกอน
ได้ CaCO3 ซึ่งตกตะกอนและ CO2 จำนวนหนึ่ง ทำให้การปรับ pH ให้คงที่และไม่สูงขึ้นไปมาก กว่านี้
ในเวลา กลางคืนซึ่งไม่มีการสังเคราะห์แสง CO2 จะเพิ่มปริมาณมากขึ้น เนื่องจากการหายใจของพืช ทำให้ pH ของน้ำมีค่าต่ำลง CO2 ที่เพิ่มขึ้นเกินค่า Equilibrium CO2 เราเรียก Aggressive CO2 ต่อมา Aggressive CO2 จะทำปฏิกิริยากับ CaCO3 ที่ตกตะกอนอยู่ในน้ำหรือที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ ทำให้เกิด Ca(HCO3)2 มากขึ้น และมีผลทำให้ค่า pH ไม่ลดต่ำลงไปมากนัก
ขบวนการดังกล่าวนี้คือ Chemical Buffering ขบวนการดังกล่าวมีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตในน้ำมาก จะเห็นได้ว่าสัตว์น้ำ เช่น ปลา ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติในพิสัยของ pH ที่ไม่เป็นกรดมากนักและไม่เป็นด่างมากนัก pH อยู่ระหว่าง 6.5 ถึง 8.5
ขบวน การปรับสภาพน้ำให้เป็นกลางจะเกิดขึ้นได้ดีในแหล่งน้ำที่มีน้ำชนิดกระด้าง (Hard Water) กล่าวคือ มีธาตุแคลเซียมและแมกนีเซียมรวมกันอยู่มากกว่า 22 มล.ก./ลิตร สำหรับน้ำที่มีปริมาณธาตุทั้งสองต่ำกว่า 5 มก.ก./ลิตร จัดว่าเป็นน้ำอ่อนจะมีค่า pH ต่ำกว่าปกติ ในบางครั้งอาจมี ค่า pH อยู่มนพิสัย 6-4 และมี CO2 อยู่มาก ในบางครั้งอาจมี CO2 ละลายอยู่ถึง 200 มล.ก./ลิตร แหล่งน้ำเหล่านี้จะมีสัตว์น้ำอาศัยอยู่น้อย โดยมากเป็นแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ การแก้ไขอาจทำได้โดยการเติมหินปูนหรือปูนขาว (CaO) ลงไป

10. ความเป็นด่าง (Alkalinity)

คือ ความสามารถของน้ำที่จะรับ Proton หรือ Hydrogen ion(H+) อย่างที่เราเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่าเมื่อน้ำมีฤทธิ์เป็นกรดด้วยการที่มี คาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นนั้น หินปูนจะทำปฏิกิริยากับกรด (H2CO3) ได้แคลเซียมไบคาร์บอเนต แต่ถ้ามี Aggressive CO2 เพิ่มขึ้นมากอีกจนถึงจุด ๆ หนึ่งแล้วไบคาร์บอเนตก็จะแตกตัวออกเป็น CO2 และ H2CO3 ซึ่งทำให้ระบบเสียไป ปฏิกิริยาดังกล่าวนี้ถูกนำมาใช้วิเคราะห์หา Alkalinity การวิเคราะห์หา Alkalinity นั้น เราใช้กรดแก่เติมลงไปในน้ำเพื่อวิเคราะห์ว่ามี CO32- อยู่เท่าใดการทำปฏิกิริยาจะต้องถูกกระทำจนกว่าจะถึงจุดที่ได้คาร์บอน ไดออกไซด์ออกมาหมด Alkalinity นั้นไม่ใช่ว่าจะประกอบแต่เพียง CO32- และ HCO3- เท่านั้น แต่ยังมี OH- ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้น้ำมีฤทธิ์เป็นด่างอย่างแรงร่วมอยู่ด้วย โดยทั่วไปแล้วเราจะวิเคราะห์หา Phenolphthalein Alkalinity และ Total Alkalinity ชนิดแรกเราใช้ Phenolphthalein เป็นเครื่องชี้ Phenolphthalein Alkalinity บอกเราได้ว่ามี OH- และ CO32- อยู่เท่าไร แต่ Total Alkalinity จะบอกเราว่ามี OH- ,CO32- และ HCO3- อยู่เท่าไร

11. ความเป็นกรด (Acidity)
คือความสามารถของน้ำที่จะให้ Proton หรือ Hydrogen (H+) แหล่งน้ำ ค่าของ Acidity จะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับจำนวนของสารประกอบดังต่อไปนี้ที่ละลายในน้ำ เช่น Carbonic Acid , Tannic Acid, พวก Hydrolysed Salt หรือ Ferrous หรือ Aluminium Sulphate พวกกรดแก่ทำให้ Acidity มีค่าสูง และทำให้มีค่า pH ต่ำมาก การวิเคราะห์หา Acidity เราใช้ด่างแก่ทำให้ปฏิกิริยากับน้ำ Acidity มีประโยชน์ต่อเราที่ว่าสามารถบอกได้ว่าน้ำต้องเติมด่างหรือเกลือจำนวนเท่าใด มาทำปฏิกิริยา เพื่อให้ได้ pH เป็นกลาง การที่ Acidity เป็นผลเนื่องจากกรดอ่อนชนิดต่าง ๆ เราก็อาจใช้ CaCO3 เป็นตัวปรับ pH ได้

12. ความเค็ม (Salinity)
ความเค็มของน้ำ หมายถึง ปริมาณของแข็ง (Solid) หรือเกลือแร่ต่าง ๆ โดยเฉพาะโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยนิยมคิดเป็นหน่วยน้ำหนักของสารดังกล่าวเป็นกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำ หรือส่วนในฟัน (Part Per Thousand , ppt) ทั้งนี้หลังจากที่พวกเกลือ คาร์บอเนต (Carbonate) ถูกเปลี่ยนเป็น Oxides และพวกเกลือโบไมด์ (Bromide) และไอโอไดด์ (Iodide) ถูกแทนที่โดยคลอไรด์ (Chloride) และอินทรีย์วัตถุ (Organic Matter) ถูกออกซิไดสไปทั้งหมดความเค็มของน้ำจะมีค่าแตกต่างกันไป แล้วแต่สถานที่และประเภทของดิน สำหรับน้ำจืดมีค่าความเค็มประมาณศูนย์ ส่วนน้ำทะเลมีค่าความเค็มโดยเฉลี่ยประมาณ 35 ส่วนในฟันในด้านการประมง ได้มีผู้แบ่งประเภทของน้ำออกตามระดับความเค็มดังนี้ คือ
น้ำจืด (Fresh Water) มีความเค็มระหว่าง 0.0.5 ส่วนในฟัน
น้ำกร่อย (Brackish Water) มีความเค็มระหว่าง 0.5-30.0 ส่วนในฟัน
น้ำเค็ม (Sea Water) มีค่าความเค็มมากกว่า 30 ส่วนในฟันขึ้นไป
ความเค็มของน้ำมีผลต่อการดำรง ชีวิตของสัตว์น้ำ โดยเฉพาะระบบการควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย (Water Regulatory System) ซึ่งมีผลมาจากความแตกต่างของแรงดัน Osmotic ระหว่างภายในตัวสัตว์น้ำและภายนอก สัตว์น้ำจืดจะมีแรงดัน Osmotic ภายในตัวสูงกว่าน้ำที่อยู่ภายนอก ดังนั้น น้ำภายนอกจึงสามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย สัตว์น้ำจืดจึงต้องพยายามจัดเอาน้ำส่วนเกินเหล่านี้ออกไป ในทางตรงกันข้าม สัตว์น้ำเค็มที่อาศัยอยู่ในทะเลจะมีแรงดัน Osmotic ต่ำกว่า น้ำทะเล ดังนั้น น้ำภายในตัวก็จะออกนอกร่างกายได้ง่าย สัตว์ทะเลจึงต้องพยายามเก็บรักษาปริมาณน้ำไว้ให้มาก สำหรับสัตว์น้ำบางชนิดโดยเฉพาะสัตว์น้ำกร่อยที่อาศัยอยู่บริเวณที่มีการ เปลี่ยนแปลงความเค็มไว้มาก จะมีความสามารถในการปรับตัวและทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของแรงดัน Osmotic ดังกล่าวได้ดี อย่างไรก็ตามสัตว์น้ำ ทั่วไปสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพความเค็มของน้ำที่เปลี่ยนแปลงได้ แต่ทั้งนี้ต้องค่อยๆ เป็นไปอย่างช้าๆ โดยปกติสัตว์น้ำจืดจะมีเลือดที่มีความเข้มข้นสูงกว่าน้ำภายออกประมาณ 6 เท่าของแรงดัน Osmotic หรือเท่ากับความเข้มข้นประมาณ 7 ส่วนในพันของเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ดังนั้น สัตว์น้ำจืดโดยทั่วไปจะสามารถอยู่ในน้ำที่มีความเค็มประมาณ 7 pptได้ และบางชนิดจะอาศัยอยู่ในน้ำที่มีความเค็มสูงกว่านี้ได้ แต่ต้องให้เปลี่ยนแปลง ทีละน้อยดังที่กล่าวมาแล้ว ปัจจุบันเริ่มนิยมเลี้ยงปลานิลซึ่งเป็นปลาน้ำจืด ความเค็มระหว่าง 5-10 ppt ในน้ำกร่อย และการเลี้ยงปลากระพงขาวและกุ้งทะเลในน้ำจืดที่มีความเค็มน้อย ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น
วิธีการวัดค่าความเค็มของน้ำอาจทำได้หลายวิธี เช่น วิธีว่าค่าการนำไฟฟ้าความถ่วงจำเพาะ การไตเตรทด้วยซิเวอร์ไนเตรท และที่นิยมสะดวก การวัดโดยเครื่องมือ Salinometer โดยอาศัยหลักสะท้อนแสง

13. ไนโตรเจน (Nitrogen) และ ฟอสฟอรัส (Phosphorus)

ก.ไนโตรเจนในแหล่ง น้ำมี 3 รูปแบบที่สำคัญ ได้แก่ แอมโมเนีย (NH3)ไนโตรน์ (NO-2) และ ไนเตรท (NO-23)
เนื่องจากไนโตรเจนเป็นสารประกอบหลักของโปรตีน (Protein) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต สำหรับพืชสามารถใช้สารประกอบพวกไนโตรเจนได้หลายรูปแบบมาทำการสังเคราะห์เป็น โปรตีน เช่น แบคทีเรียหรือสาหร่ายบางชนิดสามารถตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศได้ ดังสมการ
N2 + แบคทีเรียหรือสาหร่าย ? โปรตีน
พืชสีเขียวอาจใช้ ไนโตรเจนที่อยู่ในรูปของสารประกอบ เช่น แอมโมเนีย (NH3) หรือ ไนเตรท (NO-23) สำหรับใช้ในการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างโปรตีน เช่น
NH3 + CO2 + พืชสีเขียว + แสงสว่าง ? โปรตีน
สำหรับสัตว์ไม่สามารถใช้ไนโตรเจนจาก อากาศรวมทั้งสารอินทรีย์ไนโตรเจน (Inorganic Nitrogen) มาทำการสังเคราะห์โปรตีนเหมือนกับพืชดังที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้นสัตว์จึงต้องอาศัยโปรตีนจากพืชหรือสัตว์อื่น ๆ ด้วยกันในรูปของสารอินทรีย์ไนโตรเจน (Organic Nitrogen) ในบางครั้งจึงจำเป็นต้องทำการวิเคราะห์ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (Total Nitrogen) ซึ่งหมายรวมทั้ง อินทรีย์และอินทรีย์ไนโตรเจน
เมื่อสิ่งมี ชีวิตเหล่านี้ตายลง สารประกอบโปรตีนในร่างกายก็จะถูกย่อยสลายและเปลี่ยนไปเป็นสารประกอบอื่น ๆ นอกจากนี้ของเสียที่ถูกขับถ่ายออกมาโดยเฉพาะจากสัตว์จะมีสารประกอบพวกโปรตีน หรืออินทรีย์ไนโตรเจนที่ยังย่อยไม่หมด ดังนั้นสารเหล่านี้จะถูกแบคทีเรียย่อยสลายให้เป็นแอมโมเนีย (NH3) ดังสมการ ถ้าในสถานที่ขาดออกซิเจน NH3 จะทวีความรุนแรงขึ้น
สารประกอบโปรตีน (อินทรีย์ไนโตรเจน) + แบคทีเรีย ? NH3
แอมโมเนียที่เกิดขึ้นอาจถูกพืชนำ ไปใช้ประโยชน์ในการสร้างโปรตีนใหม่ ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ถ้ามีปริมาณมากก็จะถูกออกซิไดส์ โดยแบคทีเรียกลายเป็นสารประกอบพวกไนไตรท์ (NO2-) และ ไนไตรต (NO-23) ตามลำดับ
แบคทีเรีย
2NH3 + 3O2 ----------------------> 2N2 + 2H + 2H2O
แบคทีเรีย
2NO-2 + O2 ----------------------> 2NO-23
ไน ไตรท์จะถูกพืชนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป และส่วนที่เหลือก็จะชะล้างลงไปสะสมอยู่ในน้ำไม่มีออกซิเจนไนเตรทอาจถูกทำ ปฏิกิริยา Reduction ซึ่งเรียกว่า Denitrification ให้กลับมาเป็น ไนไตรท์และแอมโมเนียได้เช่นกัน แต่จะเกิดแอมโมเนียน้อย เนื่องจากการเปลี่ยนไนไตรท์มาเป็นแอมโมเนียมีแบคทีเรียบางชนิดเท่านั้นที่ สามารถทำปฏิกิริยาดังกล่าวได้ และไนไตรท์มักถูกเปลี่ยนไปเป็นไนโตรเจนมากกว่า
แอมโมเนียโดยปกติเป็นพิษ ต่อปลา โดยเฉพาะในรูปของ Un-Ionized From หรือ NH3 ส่วน Ionized-From หรือ NH4+ ไม่มีพิษต่อสัตว์น้ำ เว้นแต่จะมีอยู่ในปริมาณสูงมาก ๆ การแตกตัวของแอมโมเนียขึ้นอยู่กับค่า pH และอุณหภูมิของน้ำ หาก pH ลดลง เปอร์เซ็นต์การแตกตัวก็จะมีมากขึ้น ทำให้ความเป็นพิษลดลง ดังนั้นในบ่อปลาที่มีการให้อาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีโปรตีนสูง ของเสียที่เกิดขึ้น หรืออาหารที่เหลือก็จะทำให้ปริมาณแอมโมเนียสูงขึ้น และอาจเป็นอันตรายแก่ สัตว์น้ำเองได้ในที่สุด การวิเคราะห์ปริมาณแอมโมเนียในบ่อปลาบางครั้งจึงมีความจำเป็น ระดับความเข้มข้นของแอมโมเนียที่จะไม่เป็นอันตรายต่อปลาไม่ควรเกิน 0.02 มิลิกรัม/ลิตร ในรูปของ Un-Ionized From
ไนไตรท์ โดยปกติก็มีพิษต่อสัตว์น้ำได้ เช่นเดียวกันกับแอมโมเนีย แต่มักจะเกิดขึ้นในปริมาณไม่มากนักในแหล่งน้ำธรรมชาติ เว้นแต่ในบ่อเลี้ยงปลาที่มีการให้อาหารที่มีโปรตีนสูงดังที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งจะถูกแบคทีเรียทำการ เปลี่ยนรูปไปเป็นไนไตรท์ ซึ่งไม่มีพิษต่อปลาแต่จะเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชน้ำหรือสัตว์ น้ำเอง
ในการลดความเป็นพิษของแอมโมเนียและไนไตรท์ในบ่อเลี้ยงปลา จากผลการทดลองในห้องปฏิบัติการ พบว่าสารประกอบพวกคลอไรด์ (Chlorides) โดยเฉพาะเกลือแกง (NaCl) สามารถลดความเป็นพิษของสารประกอบดังกล่าวได้ โดยใส่ในอัตราประมาณ 500 มิลลิกรัมต่อลิตร หรือ ประมาณ 600-800 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งในทางปฏิบัติมักจะนิยมใส่ทีละน้อยในอัตราประมาณ 200-250 กิโลกรัม/ไร่ ทุก ๆ 1-2 อาทิตย์ หรือการเพิ่มอากาศและระบายลงในแหล่งน้ำ
ข. ฟอสฟอรัส มีความสำคัญเนื่องจากเป็นธาตุที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ และพืช ฟอสฟอรัสจะสะสมในดินและหินแร่หรือแหล่งสะสมอื่นๆ ซึ่งจะปลดปล่อยฟอสเฟตออกมาในรูปที่ละลายน้ำได้โดยการชะล้าง พืชและสัตว์ก็จะนำเอาไปใช้ในการเจริญเติบโตและสร้าง โปรโต-พลาสซึม (Protoplasm) เมื่อพืชและสัตว์เหล่านั้นตายลง ปริมาณฟอสฟอรัสที่มีอยู่ในร่างกายก็จะถูกย่อยสลายกลับสู่พื้นดินหรือทะเล และถูกพัดพาจมลงไปในที่สุด บางส่วนอาจถูกสิ่งมีชีวิตดึงกลับมาใช้ประโยชน์ แต่ปริมาณที่สูญเสียไปมีมากกว่าปริมาณที่ถูกนำมาใช้กลับคืน ดังนั้นมนุษย์เราจึงจำเป็นต้องเติมหรือเพิ่มปริมาณฟอสฟอรัสใช้ปุ๋ยทางการ เกษตร น้ำทิ้งจากการอุตสาหกรรม และน้ำทิ้งจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เป็นต้น ซึ่งของเสียเหล่านี้มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบในปริมาณมากน้อยต่างกัน เนื่องจากฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืช ดังนั้นจึงสามารถทำให้พืชน้ำโดยเฉพาะแพลงค์ตอนพืชสามารถเจริญเติบโตได้อย่าง รวดเร็ว ซึ่งเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำ แต่ถ้ามีปริมาณมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดสภาวะเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำ ซึ่งเกิดจากการเจริญเติบโตของพืชน้ำ หรือที่เรียกว่า Eutrophication ในที่สุด จากการศึกษาในต่างประเทศมี ผู้รายงานว่า หากแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณฟอสฟอรัสสูงเกินกว่า 0.01 mg/L จัดว่าแหล่งน้ำนั้นมีอาหารธรรมชาติมากเกินไป และแหล่งน้ำที่มีปัญหามลภาวะจะมีปริมาณฟอสฟอรัสสูงกว่า 0.6 mg/L อย่างไรก็ตามปริมาณฟอสฟอรัสในน้ำไม่ได้เป็นมลพิษที่จะทำอันตรายต่อสัตว์น้ำ เพียงแต่เป็นตัวการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแหล่งน้ำ เนื่องจากการเจริญเติบโตของพืชน้ำ และเป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในแหล่งน้ำนั้น ในการควบคุมและป้องกันปัญหาเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำจึงได้กำหนดมาตรฐานไว้โดย ไม่ควรมีปริมาณฟอสฟอรัสเกิน 0.03 mg/L
สารประกอบฟอสฟอรัสที่พบในแหล่งน้ำ มีอยู่ 2 แบบ คือ
1. สารประกอบพวกอินทรีย์ฟอสเฟต (Organic Phosphates) ได้แก่สารประกอบฟอสฟอรัสที่เกิดจากขบวนการทางชีวะ และฟอสฟอรัสที่รวมอยู่กับอินทรีย์ต่าง ๆ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เป็นต้น และรวมทั้งฟอสฟอรัสที่อยู่กับซากพืชหรือสัตว์
2. สารประกอบพวกอนินทรีย์ฟอสเฟต (Inorganic Phosphates) เป็นสารประกอบฟอสเฟต ที่พบในแหล่งน้ำทั่ว ๆ ไป ซึ่งได้รับมาจากน้ำทิ้งจากกิจกรรมต่าง ๆ แบ่งออกได้เป็นสารประกอบออ-โธฟอสเฟต (Ortho Phosphates) ได้แก่สารประกอบพวก PO4-3 HPO4-2 และ H2PO4-1 สารประกอบพวกนี้ละลายน้ำได้ดี และแพลงค์ตอนพืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ สารประกอบ ออโธฟอสเฟตนี้บางทีเรียก Soluble Reactive Phosphorus ซึ่งถือว่ามีความสำคัญทางด้านการประมง สารประกอบฟอสฟอรัสอีกอย่างหนึ่งคือ โพลีฟอสเฟต (Polyphosphates) พบในน้ำทิ้งจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เนื่องจากเป็นส่วนผสมของผงซักฟอก (Detergent) ซึ่งมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน สารประกอบพวกโพลีฟอสเฟตสามารถเปลี่ยนแปลงมาเป็นออโธฟอสเฟตได้โดยขบวนการ ไฮโดรไลซิส (Hydrolysis) เมื่ออยู่ในน้ำและถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือ pH ลดลงก็จะช่วยเร่งปฏิกิริยาดังกล่าวให้เร็วขึ้น ซึ่งพวกออโธฟอสเฟตจะมีอิทธิพลต่อการแพร่พันธุ์เจริญเติบโตของพืชน้ำและแพ ลงค์ตอนพืช

การเพิ่มกำลังผลิตในบ่อปลาโดยการใส่ปุ๋ย

ปุ๋ย ช่วยก่อให้เกิดอาหารธรรมชาติที่อุดมด้วยคุณค่าและมีต้นทุนต่ำแต่ก็มีข้อ จำกัดและสิ่งที่ควรพิจารณาประกอบอันได้แก่ สามารถละลายน้ำได้ดีเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มปริมาณธาตุอาหารเช่นแพลงค์ตอน เช่นปุ๋ยไนโตรเจน เช่น แอมโมเนียมซัลเฟส และยูเรีย ที่มีไนโตรเจน 20 และ 46 %และฟอสเฟต เช่น ซุปเปอร์ฟอสเฟต มีอยู่ 16-18 % อัตราการใช้ในน้ำที่อุณหภูมิ 20 C0 ใช้ 5-10 กก.ต่อสัปดาห์/ไร่ การใช้ปุ๋ยอาจมีผลข้างเคียงเช่น ปริมาณออกซิเจนในน้ำเพิ่มขึ้น ลดปริมาณกลิ่นและสาหร่ายพิษเช่น Oscillatoria sp. และ Prymnosium sp เป็นต้น นอกจากนี้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น มูลวัวและไก่ที่ปราศจากเชื้อโรคก็นิยมใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตในบ่อ ปริมาณที่ใช้ขึ้นอยู่กับ ออกซิเจนในน้ำ อุณหภูมิ และปริมาณออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ (BOD) โดยประมาณ 40-80 กก./สัปดาห์/ไร่

การ ปรับปรุงคุณภาพน้ำ
การที่จะควบคุมปรับปรุงได้ดีนั้นต้องอาศัยการ สังเกตและตรวจสอบคุณภาพน้ำ ซึ่งทำได้โดยการดูสี การวัดความขุ่นของน้ำโดยวิธีเบื้องต้น ใช้สายตาหรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องประกอบหรืออาจใช้วิธีการไตเตรทกับสาร เคมีก่อนทำการปรับปรุงจะได้ผลยิ่งขึ้น
1. การพักน้ำ ปกติโดยทั่วไปในฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจำเป็นต้องมีอ่างเก็บน้ำประมาณ 30-40 % ของพื้นที่ หรือฟาร์มเพาะลูกปลาจำเป็นต้องมีบ่อพักน้ำเสมอ เพื่อช่วยให้น้ำตกตะกอนมีสภาพที่ใสขึ้น และยังช่วยลดปริมาณก๊าซพิษจากการระเหย เช่น คลอรีน NH4, H2S การพักน้ำ เป็นการปรับปรุงคุณภาพน้ำขั้นต้น ซึ่งมีความจำเป็น
2. การกรองและการตกตะกอน การใช้ตัวกรองโดยมีวัสดุต่าง ๆ เช่น ทรายละเอียด ทรายหยาบ หิน กรวด และ ถ่าน เป็นการกำจัดความขุ่น กลิ่น แต่ไม่สามารถกำจัดสารอินทรีย์หรือเชื้อโรค จุลินทรีย์ แบคทีเรีย สารพิษที่ปะปนมากับน้ำได้ การตกตะกอนอาจใช้สารเคมีใส่ลงในน้ำ เช่น CUSO4 สารส้ม หรือปุ๋ยเคมี ช่วยลดความขุ่นและปริมาณของแพลงค์ตอนได้บ้าง การใส่ปูนขาวนอกจากช่วยลดความขุ่นแล้วยังช่วยปรับสภาพน้ำที่เป็นกรดได้และ ช่วยให้เกิดการตกตะกอนของสารแขวนลอยได้
3. การระบายและเติมน้ำใหม่ ปกติวิธการนี้นิยมในการเพาะเลี้ยงสัตว์แบบพัฒนาหรือมีการปล่อยสัตว์น้ำค่อน ข้างหนาแน่น และมีการให้อาหารเน้นโปรตีนสูง เช่น การเลี้ยงปลาดุก การเลี้ยงกุ้งทะเล จำเป็นต้องมีการระบายน้ำเก่าโดยบริเวณพื้นบ่อออกประมาณ 1 ใน 3 ส่วน แล้วเติมน้ำใหม่ปริมาณในการถ่ายเทน้ำ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของคุณภาพน้ำเป็นเกณฑ์สำคัญ การถ่ายเทน้ำนอกจากได้น้ำใหม่แล้วยังช่วยให้คุณสมบัติบางตัวดีขึ้น เช่น ออกซิเจน อุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง ลดปริมาณก๊าซพิษเช่น NH4 H2S และสารพิษ
4. การเติมอากาศหรือออกซิเจนลงในบ่อน้ำ เป็นการช่วยทำให้สภาพน้ำดีขึ้น และนิยมมากในการเลี้ยงกุ้งในปัจจุบัน เนื่องจากกุ้งชอบอาศัยอยู่พื้นบ่อ และมีการให้อาหารที่มีโปรตีนสูง ในปริมาณที่มาก เป็นการช่วยลดปริมาณก๊าซพิษ เช่น แอมโมเนีย ไฮโดรเจนซัลไฟล์ สารพิษ และช่วยให้สุขภาพของสัตว์น้ำดีขึ้น ทำให้โอกาสเป็นโรคน้อยลง
5. การป้องกันและกำจัดเชื้อโรค การใช้สารเคมีที่นิยมใช้ เช่น คลอรีน ฟอร์มาลิน ด่างทับทิม ปูนขาว และการใช้แสง UV ในการฆ่าเชื้อ ควรคำนึงถึงผลของอุณหภูมิน้ำจะสูงขึ้น และ ค่าใช้จ่าย ปริมาณการใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์น้ำ ปริมาณ ชนิดของสารเคมี เชื้อโรค และระยะเวลาการใช้ รายละเอียดจะกล่าวถึงในเรื่องโรคของสัตว์น้ำ
6. ความลึกของน้ำในบ่อ จำเป็นต้องควบคุมให้ได้ระดับที่เหมาะสม มีค่าระหว่าง 1-1.5 เมตร หากน้ำมีความลึกมากเกินไป เช่น มากกว่า 2 เมตร จำทำให้ผลผลิตของแหล่งน้ำและปริมาณออกซิเจนพื้นบ่อลดลง เนื่องจากแสงแดดส่องลงไม่ถึงพื้นบ่อ และมีโอกาสเกิดแก๊สพิษบริเวณพื้นบ่อ เนื่องจากจุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาพที่ขาดออกซิเจน นอกจากนี้อุณหภูมิของน้ำมีโอกาสเกิด Thermo Stratification จะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิค่อนข้างมากระหว่างบริเวณกลางน้ำ มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ หากน้ำมีความลึกน้อยไป เช่น น้อยกว่า 50 ซม. อุณหภูมิของน้ำจะสูง และโอกาสเกิดความขุ่นได้มากขึ้น ระดับน้ำลึกเกินไปทำให้มีการสูญเสียโอกาสในการกินอาหารของสัตว์น้ำ และค่าใช้จ่ายในการถ่ายเทน้ำ
7. การใช้ระบบหมุนเวียนน้ำในการเลี้ยงหรือการเลี้ยงระบบปิด ซึ่งนิยมมากในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ หรือการเลี้ยงแบบเข้มข้น ในบริเวณที่มีปัญหาแหล่งน้ำภายนอก หรือจากน้ำธรรมชาติไม่เหมาะสมหรือมีจำกัด กล่าวคือ น้ำทิ้งจากการเลี้ยงจะนำไป ตกตะกอนในบ่อฟัก เพื่อให้ตกตะกอนและให้อาหารที่เหลือเพื่อเลี้ยงปลานิลหรือปลากระพงได้ แล้วนำน้ำไปเลี้ยงในบ่อหอย แพลงค์ตอน หรือสาหร่าย ซึ่งจะทำให้น้ำใสขึ้น และให้แร่ธาตุอาหารที่เหลือออก จากนั้นนำน้ำไปเติมสารเคมี เช่น ฟอร์มาลิน หรือ คลอรีน และเติมอากาศ แล้วสามารถนำกลับไปใช้เลี้ยงกุ้งได้ใหม่

วิชาการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
รศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน
คณะเทคโนโลยีการ ประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ที่มา http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=19106.0